ประมวลภาพไปเยือนโครงการสร้าง "บัวละเวรีสอร์ท"
เมืองปากซอง สปป.ลาว
เมื่อวันที่ 23-24 ธันวาคม 2556
(สมาชิก 4 ท่านผู้ร่วมเดินทางจากโคราช)
ลำธารน้ำตก ใสบริสุทธิ์ปราศจากพิษของเคมี ไหลกระเซ็นเย็นทั้งปี
ภูมิทัศน์สนามกอล์ฟ ในรีสอร์ท
การเดินทางจากประเทศไทย : ผ่านด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งโครงการห่างจากด่านช่องเม็กชายแดนไทยประมาณ 120 กม. เดินทางข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองปากเซ ไปทางทิศตะวันออก
แผนที่ : แสดงเส้นทางถนนจากด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี
ถึงเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว
ที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์ GPS : N 15.259217 E 106.294996
พื้นที่ : ประมาณ 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่สัมปทานจากรัฐบาล สปป.ลาว
ผู้สัมปทาน : ชาวไต้หวัน ชื่อ อาเหลียง อายุประมาณ 50 ปี
สภาพทางภูมิศาสตร์ : ตั้งอยู่บนที่ราบสูงบัวละเว ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,500 เมตร
ลักษณะดิน : เป็นดินที่เกิดจาก หินภูเขาไฟ เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุเหล็ก เหมาะแก่การกสิกรรม ดินระบายน้ำได้ดี ค่า pH ของดินประมาณ 4-5
แหล่งน้ำ : มีลำธารใสสะอาด มีน้ำตกในพื้นที่โครงการ 5 แห่ง ต้นกำเนิดไหลมาจากเทือกเขาอันนัม มียอดภูเขาสูงทางตะวันออก ยอดเขาสูงที่อยู่ใกล้กับรีสอร์ท ชื่อ Phou Phiamay สูง 1,716 เมตร ไหลอ้อมพื้นที่โครงการ ไปทางตะวันตก วกอ้อมไปทางเหนือ น้ำไหลตลอดปี มีปริมาณมากพอต่อโครงการปลูกพืชผัก และใช้ในรีสอร์ท สร้างฝายทดน้ำในระดับพื้นที่สูง เพื่อให้ไหลเข้าสู่ภายในโครงการ สร้างเป็นอ่างน้ำ เลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาคาร์ฟ แล้วให้น้ำไหลล้นอ่างไปทางปลายลำธารน้ำด้านล่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงาน ให้ไหลไปตามระดับความลาดเอียงของพื้นที่
สภาพภูมิอากาศ : อยู่ในเขตมรสุม มีสภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูหนาวเดือนธันวาคม มกราคม อุณหภูมิ ประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตกมากเดือน พ.ค-มิ.ย. และ ส.ค.-พ.ย.
สภาพพืชพรรณธรรมขาติ : เป็นป่าสนไม่ผลัดใบ ป่าเบญจพรรณสลับทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ หญ้าคา มีดอกไม้บัวตองขึ้นปลายฤดูฝน
การพัฒนาพื้นที่ : เริ่มโครงการเมื่อประมาณ พ.ศ.2554
เป้าหมายโครงการ : มีดังนี้
1. สนามกอล์ฟ
2. ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
3. ไร่กาแฟ ผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปจากกาแฟ
4. แปลงพืชผักไร้สารพิษ ผักเมืองหนาว
5. การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และธรรมชาติ เดินป่า ชมน้ำตก
6. แหล่งปฏิบัติธรรม
ผลการดำเนินงาน
1. ไร่กาแฟ อายุ 3 ปี เก็บผลผลิตแล้ว
2. งานปรับสภาพพื้นที่ ถนนภายใน ลานจอดรถ อ่างเก็บน้ำ สนามกอล์ฟ ผลงานได้ 80 %
3. อาคารสิ่งก่อสร้าง อาคารศูนย์กลางอำนวยการ อาคารบริการอาหาร ผลงานได้ 40 %
4. ระบบไฟฟ้า 220 โวล์ท พร้อมหม้อแปลง ปักเสาแรงสูง 3 เฟส แล้วเสร็จ 100 %
5. ถนนเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 16 ระยะทางประมาณ 2 กม. เป็นถนนลูกรัง แล้วเสร็จ 50 %
แผนงานแปลงผักกสิกรรมไร้สารพิษ
ควบคุมการผลิตโดยทีมงาน โครงการกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
เฟสที่ 1 พื้นที่ 16 เฮกตา หรือ 100 ไร่ กำหนดปลูกไม่เกิน 15 ม.ค.2557 เป็นพืชผักเมืองหนาว 5 ชนิด
จุดสังเกตบ้านหลังนี้ ตรงทางแยกซ้ายมือ
จากเส้นทางหมายเลข 16 ลงถนนลูกรัง
เพื่อเข้าสู่รีสอร์ทอีกประมาณ 2 กม.
น้ำตกใส เย็น ต้นน้ำจากที่ราบสูง เทือกเขาอันนัม
เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตสัมปทานสร้างรีสอร์ท
มีจำนวนน้ำตก 5 แห่ง ล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า
ทีมร่วมทุนยืนสนทนาวางแผนงาน บริเวณที่พักชั่วคราวหน้าสำนักงานกลาง
สนามหน้าอาคารสำนักงานกลางรีสอร์ท
ออกแบบวางแผนแปลงผัก ที่พักเกษตรกร
ภูมิทัศน์บริเวณบ้านพักรับรองที่เมืองปากซอง
บ้านส่วนตัวของอาหลียง นักลงทุนชาวไต้หวัน
ตื่นเช้าดื่มกาแฟ เดินชมบริเวณบ้านพักรับรอง
ที่เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก
หลังจากชมพื้นที่แล้ว มานั่งวางแผนงาน
ที่บ้านพัก เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก
อยู่ห่างจากที่ตั้งโครงการ 12 กม.
อาเหลียง นักลงทุนชาวไต้หวัน
ผู้ขอสัมปทานพื้นที่ ประมาณ 5,000 ไร่ หรือ 800 เฮกตา
เพื่อพัฒนาเป็นรีสอร์ท จากรัฐบาล สปป.ลาว
(100×100 เมตร = 1 เฮกตา = 6.25 ไร่)
ไร่กาแฟ อายุ 3 ปี ให้ผลผลิตแล้ว
พื้นที่ดินภูเขาไฟ ไถพรวนพร้อมที่จะยกร่อง วางระบบน้ำ
สภาพดินมีค่า pH 4-5
หินอัคนี หินภูเขาไฟ ที่มาของแร่ธาตุเหล็ก นิเกิล ทองแดง
ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
วิวบนเส้นทางภายในรีสอร์ท
อาคารครัว บริการอาหาร คาราโอเกะ
ยืนคุยวางแผนพัฒนาพื้นที่ กับคุณรุ่ง สถาปนิกออกแบบพื้นที่
จบจากเกษตรแม่โจ้ และคุณป้าวิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผักไฮโดรฯ และเป็นแม่ครัว
ด้านหลังเป็นอ่างทดน้ำขึ้นมาเพื่อเลี้ยงปลาคาฟ
บริเวณอ่างรับน้ำตอนในพื้นที่ ที่ผันน้ำมาจากฝายต้นน้ำ
บ้านพักรับรองฝ่ายอำนวยการของรีสอร์ท
เครื่องจักรกลทุ่นแรง
โรงเก็บรถไถ รถฉีดพ่น
รถออฟโรด พาคณะเราขับข้ามลำน้ำชมไร่กาแฟ
อาเหลียงพาดูงานโรงงานแปรรูปอบแห้งพืชผักส่งออก ตั้งอยู่ที่เมืองปากซอง
เป็นนักลงทุนจากจีนอีกราย
ได้ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังลาว เพราะขาดวัตถุดิบ ค่าแรงงานสูง
ผอ.อำนาจ หมายยอดกลาง สนทนากับนักลงทุนจากชาวจีนผู้สร้างโรงงานฯ
โดยมีอาเหลียง นักลงทุนไต้หวัน เป็นล่ามแปล
ภายในโรงงานอบแห้งพืชผักที่กำลังก่อสร้าง
พื้นโรงงานจะปูด้วยแผ่นหินอ่อน หินแกรนิต
กำลังก่อสร้างโรงงานอบแห้งพืชผักส่งขายที่จีน
กำลังการผลิต 60 ตัน/วัน
บ่อน้ำบาดาล โรงงานอบแห้งพืชผัก ลึก 150 เมตร
จากนักลงทุนประเทศจีน
อาเหลียง และแม่บ้าน นักลงทุนชาวไต้หวัน
ขับรถมาส่งคณะของเรากลับโคราช ที่ช่องเม็ก จ.อุบลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น