วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ใบงานกสิกรรมไร้สารพิษ

ใบงานที่ 1 เรื่อง การเก็บจาวปลวก
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อเก็บเชื้อไมคอร์ไรซา นำไปเพาะขยายเชื้อ ช่วยระบบรากพืชให้ดูดธาตุอาหาร และย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
1. อีเตอร์ หรือจิก ขุดดินแข็ง
2. จอบขุดดิน
3. ช้อนด้ามยาว จวัก ทีพพี
4. ถัง หรือกะละมัง

เนื้อหาย่อจากเว็บไซต์
จาวปลวก มีเชื้อรากลุ่มไมคอร์ไรซ่า : ช่วยเกื้อกูลรากฝอยของพืช

ไมคอร์ไรซา เป็นรากลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ดินโดยอาศัยอยู่ตามรากพืชของต้นไม้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่กับเซลล์ผิวของรากต้นไม้ เรียกว่า เอคโตไมคอร์ไรซา (Ectomycorrhiza) และกลุ่มที่อาศัยอยู่ภายในเซลล์ผิวของรากต้นไม้ เรียกว่า เอ็นโดไมคอร์ไรซา (Endomycorrhiza) โดยทั้งสองมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดธาตุอาหารของราก ช่วยให้ลำต้นพืชเหี่ยวช้าในสภาวะขาดน้ำ

ขั้นตอนวิธีทำ
1. เปิดหน้าดิน ใช้เครื่องมืออีเตอร์ หรือจอบ ขุดดินเปิดรังปลวกขนาดใหญ่ออก ดินปลวกมีสภาพที่แข็งมาก
2. เก็บเอาจาวปลวก หรือรังปลวกสีขาวขุ่นภายในโพรงดินปลวก ประมาณ 1 ก.ก.




 

ใบงานที่ 2 เรื่อง การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อจาวปลวก
เวลา 30 นาที

จุดประสงค์
เพื่อบ่มเพาะตรวจดูการเดินเชื้อ เพื่อเก็บเชื้อนำไปขยายปริมาณเชื้อต่อไป

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. ครก ไม้ตีพริก เครื่องปั่นมอเตอร์
2. ฟ๊อกกี้สเปรย์พ่น
3. กระติกน้ำแข็ง
4. ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลัง
5. โรงบ่ม หรือรังอบแสงแดด
6. ถุงพลาสติกซิปปิดฝา ขนาดบรรจุ 100 กรัม

ขั้นตอนวิธีทำ
1. จุลินทรีย์น้ำลำไผ่+จุลินทรีย์น้ำลำอ้อย = 1:1
2. บดย่อยจุลินทรีย์จาวปลวก+บดย่อยข้าวเปลือก หรือมันสำปะหลัง = 1:1
3. นำ ข้อ 1 ฉีดพ่นใน ข้อ 2 ความชื้น 60%
4. นำมาบดปั่นด้วยเครื่อง 2 นาที เพื่อเร่งให้เชื้อขยายตัว
5. ใส่กระติกน้ำแข็งปิดฝา อบชื้นตากแดด 3 วัน ในแต่ละวัน นำมาปั่นทุกตอนเย็น 2 นาที แล้วใส่กระติกปิดฝา
6. อบตากแดดในกระติกอีก 3 วัน(ดูการเดินเชื้อ)
7. นำไปอบแห้งในโรงบ่มกลางแดด เพื่อหยุดเดินเชื้อ
8. นำบรรจุถุงซิป 100 กรัม







ใบงานที่ 3 เรื่อง การเก็บเชื้อจุลินทรีย์ในป่า(IMO)
เวลา 1 ช.ม.
จุดประสงค์ เพื่อเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ในท้องถิ่นในป่า นำไปเป็นหัวเชื้อ หรือนำไปเป็นดินปลูกพืช

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. จอบ
2. คราด
3. พลั่ว
4. บัวรดน้ำ
5. รำข้าว หยาบ ละเอียด
6. กากน้ำตาล

ขั้นตอนวิธีทำ
1. เข้าป่ากวาดใบไม้ออก
2. ใช้จอบขูดสับหน้าดินลึก 1-2"
3. รวมดินขึ้นกอง 1 ส่วน
4. เทราดรำข้าว 1 ส่วน
5. คลุกเคล้าเข้ากันผสมแห้ง
6. ราดกากน้ำตาลที่ละลายน้ำ 1:10
7. ผสมให้เข้ากันความชื้น 60% พอกำเป็นก้อนได้
8. ขึ้นกองเป็นรูปกรวยค่ำ โรยทับด้วยรำ ปิดคลุมด้วยใบไม้
9. เมื่อ 3 วันผ่านไปให้กลับกอง ครบ 7 วันใช้ได้

วิธีนำไปใช้
ใช้โรยบนแปลงผัก เป็นปุ๋ยให้พืชผัก หรือนำไปคลุกขยายเชื้อในดิน
โดยนำไปเป็นหัวเชื้อคลุกเคล้าในแปลงผัก 1 บุ้งกี๋ ต่อ 1-2 ตารางเมตร

ใบงานที่ 4 เรื่อง เจาะน้ำลำไผ่ ลำอ้อย
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อนำน้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย ไปหมักเชื้อจุลินทรีย์

เครื่องมืออุปกรณ์
1. สว่านไร้สาย พร้อมดอกสว่านขนาด 2 หุนหรือ 2/7"
2. สายยาง PE ขนาด 3 มม.
3. ขวดพลาสติกน้ำดื่ม ขนาด 1-5 ลิตร
4. ไฟฉาย มีด

ขั้นตอนวิธีทำ
1. ช่วงเวลาทำการเจาะ 17.00-24.00 น.
2. ใช้สว่านเจาะใต้ข้อ ครึ่งเซ็นติเมตร เอียงขึ้น 45 องศา ทะลุข้อปล้องบน
3. นำหลอดสายยาง PE 3 มม. สอดเข้าไปประมาณครึ่ง ซ.ม.
4. นำขวดมารองรับน้ำที่จะไหลออกมา
5. เก็บน้ำเวลา 06.30-07.00 น.




ใบงานที่ 5 เรื่อง การหมักขยะเปียก
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อจัดเก็บขยะเปียก ด้วยเชื้อชีวภาพน้ำจาวปลวก
ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ป้องกันกลิ่นเหม็น ป้องกันแมลงวัน

อุปกรณ์
1. ถังพลาสติก มีฝาปิด ขนาด 100 ลิตร ติดตั้งไส้กรอง วาล์วก๊อก ปิด-เปิด
2. น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกที่ขยายแล้ว 1-2 ลิตร
3. ขยะเปียก เศษอาหาร น้ำล้างภาชนะในครัว น้ำซาวข้าว

ขั้นตอนวิธีทำ
1. หาจุดตั้งถังในร่มเงา
2. นำน้ำจุลินทรีย์เทลงไป
3. เติมขยะเปียก ทุกๆวัน
4. กดและคน ไขก๊อกรองน้ำขยะเทกลับไปข้างบนขยะเปียกทุกๆวัน
5. ปิดฝาหมักนาน 3 วัน นำไปใช้ได้
6. การนำไปใช้ให้คงเหลือขยะไว้ 10% ของถัง เพื่อให้เดินเชื้อต่อไป โดยไม่ต้องเติมน้ำจุลินทรีย์อีก

การนำไปใช้ นำขยะเปียกที่ผ่านการแช่น้ำหมักจาวปลวกแล้ว ไปทำดินหมัก

ใบงานที่ 6 เรื่อง การปาดล้อยางรถยนต์
เวลา 30 นาที

จุดประสงค์
เพื่อปาดแก้มล้อรถยางรถยนต์เก่า นำไปใช้เป็นที่หมักปุ๋ย หรือนำไปเป็นกระถางปลูกต้นไม้

เครื่องมือวัสดุอุกรณ์
1. ล้อยางรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว
2. มีดคัตเตอร์ เล่มใหญ่
3. เคียวเกี่ยวข้าว
4. ท่อ pvc ขนาด 1" ยาว 1 ฟุต
5. หินลับมีด หรือหินเจียร์

ขั้นตอนวิธีทำ
1. กรีดล้อยาง ตรงขอบแก้มยางติดกับหน้ายาง ด้วยมีดคัตเตอร์ ใช้มือกดขอบในล้อ กรีดซ้ำ 2-3 ครั้ง
2. ใช้เคียวสอดเข้าช่องที่คัตเตอร์กรีดแล้วดึงเฉือน ใช้ท่อ pvc ช่วยถ่างออก
3. พลิกข้างกรีดอีกด้านเหมือนกัน ไม่ต้องปลิ้นยาง
4. ใช้หินลับมีด หรือหินเจียร์ลับเคียวให้คม


ใบงานที่ 7 เรื่อง การหมักดินในล้อยางรถยนต์
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อถากหญ้า กำจัดวัชพืช จัดเก็บเศษอินทรีย์วัตถุ หมักในล้อยาง ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ เป็นปุ๋ยหมักนำไปใส่ต้นไม้ พืชผัก ให้เติบโตงดงาม

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. ล้อยางที่ปาดแก้มยาง 2 ด้านแล้ว(ใบงานที่ 6)
2. จอบ
3. ส้อมพลั่ว
4. น้ำหมักขยะเปียก(วิธีการทำน้ำหมักขยะเปียก ใบงานที่ 5)
5. ผ้าพลาสติกสีดำ

ขั้นตอนวิธีทำ
1. ถากหญ้า ตัดหญ้า สับฟันอินทรีย์วัตถุ บรรจุลงในล้อยาง สลับกับดินร่วน ราดลงด้วยน้ำขยะให้เปียกชุ่ม
2. ใช้เท้าขึ้นเหยียบอัดให้แน่น
3. ใช้ดินร่วนปิดขั้นบนสุด ประมาณ 1"
4. ราดเททับด้วยขยะเปียก
5. ปิดทับด้วยผ้าพลาสติกสีดำ เอาดินร่วนโรยทับ กันลมพัดปลิวและยืดอายุผ้าพลาสติกให้คงทน
6. พืชสดหมักทิ้งไว้นาน 2 สัปดาห์ พืชแห้งหมักนาน 20-30 วัน เป็นปุ๋ยดินหมักนำไปโรยทับรอบต้นไม้ที่ปลูก หรือปลูกพืชลงในวงล้อยางได้


ใบงานที่ 8 เรื่อง การหมักดินในหลุม
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์
เพื่อเตรียมหลุมปลูกต้นไม้ยืนต้น ให้เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. จอบขุดดิน ถากหญ้า
2. เสียม
3. แก้มล้อยางรถยนต์
4. ขยะเปียก น้ำขยะเปียกที่แช่น้ำหมักชีวภาพแล้ว 20 ลิตร หรือมูลสัตว์ที่แช่น้ำหมักชีวภาพแล้ว 7 วัน
5. ปูนขาว 5 ช้อนแกง แกลบดำ 10 ลิตร ผสมเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 ช้อนแกง คลุกเข้ากันเตรียมไว้
6. ผ้าพลาสติกสีดำ

ขั้นตอนวิธีทำ
1. ใช้จอบถากหญ้าบริเวณที่จะขุดหลุม เพื่อเคลียร์พื้นที่
2. นำแก้มยางรถยนต์ วางที่พื้นดินตรงที่ต้องการขุดหลุม
3. ใช้เสียมสับดินรอบๆ แก้มล้อยาง เป็นกรอบวงกลมขนาดหลุมที่ขุด
4. ใช้จอบขุดดินตามขนาดที่กรุยดินไว้ เป็นทรงกระบอก ลึก 50 ซ.ม.
5. นำหญ้าและดินร่วนที่ถากลงหลุมประมาณครึ่งหลุม
6. ราดเททับด้วยขยะเปียก
7. โรยปูนขาวที่ผสมแล้วตามวัสดุที่เตรียมไว้
8. ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้า ดินร่วนที่ถาก จนเต็มหลุม
9. โรยปูนขาวที่เตรียมอีกครั้ง
10. ราดด้วยขยะเปียก ปิดทับด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ทับด้วยแก้มยางรถยนต์ โรยดินทับบนพลาสติกให้ยืดอายุการใช้งาน หมักทิ้งไว้ 20-30 วัน ก่อนปลูกต้นไม้


ใบงานที่ 9 เรื่อง การขยายเชื้อจาวปลวก
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อจาวปลวกให้มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักพลาสติก มีฝาปิด สีทึบแสง ขนาด 100 ลิตร
2. น้ำเชื้อจาวปลวก 1-2 ลิตรหรือแบบผง 100 กรัม
3. ข้าวเปลือก หรือมันสำปะหลังแห้งบดละเอียด อย่างน้อย 10 ก.ก.
4. น้ำซาวข้าว น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย น้ำมะพร้าว ปริมาณตามภาชนะที่ใช้หมัก

ขั้นตอนวิธีทำ
ขยายในภาชนะขนาด 100 ลิตร
1. นำหัวเชื้อจาวปลวกใส่ถังหมัก
2. เติมข้าวเปลือกบดแห้ง 10 ก.ก.
3. เติมน้ำซาวข้าว น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย น้ำมะพร้าว หรือน้ำเปล่าเกือบเต็มถัง
4. หมักทิ้งไว้ 7 วัน สังเกตขึ้นราขาว นำไปใช้ย่อยขยะเปียก ย่อยอืนทรีย์วัตถุ


ใบงานที่ 10 เรื่อง การนำเชื้อจาวปลวกไปใช้
เวลา 30 นาที
จุดประสงค์ เพื่อนำเชื้อจาวปลวกไปใช้ให้ถูกวิธีอย่างเหมาะสม

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักขนาด 100 ลิตร
2. ขยะเปียก เปลือกผลไม้ น้ำซาวข้าว น้ำล้างจานน้ำแรก
3. น้ำเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก
4. หน่อกล้วย ยอดผักต่างๆ ตำละเอียด อย่างน้อย 3 ก.ก.
5. ผลไม้สุก เปลือกผลไม้ ตำละเอียด อย่างน้อย 3 ก.ก.
6. เกลือป่น 1 ก.ก.

ขั้นตอนวิธีทำ
มีขั้นตอนนำไปใช้ 2 แนวทาง
1. เพื่อหมักย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นปุ๋ยทางราก
2. เพื่อหมักย่อยสลายฮอร์โมนจากพืชเป็นปุ๋ยทางใบ

วิธีหมักย่อยสลายทำปุ๋ยทางราก
1. หมักแช่ขยะเปียก นำน้ำเชื้อเทลงถังขยะ 1-2 ลิตร เติมขยะเปียก กลับน้ำขยะ หรือกด หรือคนทุกๆวัน  ผ่านไป 3 วันเริ่มนำไปใช้ได้
2. การนำข้อ 1 ไปใช้ อย่านำไปทั้งหมดให้คงเหลือในถังไว้ 10% เพื่อให้เดินเชื้อต่อไป ใส่ขยะเปียกต่อไป
3. นำข้อ 1 ไปเทราดกองดินหมัก 10 วันใช้เททับรอบๆต้นไม้ หรือเป็นดินที่ดีเหมาะกับการปลูกพืชได้

วิธีหมักย่อยสลายทำปุ๋ยทางใบ เพื่อฉีดพ่นมี 2 สูตร
1. สูตรน้ำแม่ หมักยอดพืชเขียวสด เร่งการเติบโต
ใช้หน่อกล้วย หรือยอดพืชอื่นๆ 3 ก.ก. หั่นใช้ครกโขลกตำให้เละหรือปั่นด้วยเครื่อง + เชื้อที่ขยาย 1 ลิตร + ข้าวสุก 1 ก.ก. น้ำ 10 ลิตร หมัก 7 วันขึ้นไป กรองผ้าใช้ผสมน้ำ 1:500 ฉีดพ่นทางใบ วันเว้นวัน ในช่วงเวลาเย็น
2. สูตรน้ำพ่อ หมักผลไม้ เร่งดอกผล ใช้เปลือกหรือผลไม้สุก 3 ก.ก. หั่นใช้ครกโขลกตำให้เละหรือปั่นด้วยเครื่อง + เชื้อที่ขยาย 1 ลิตร + ข้าวสุก 1 ก.ก. + น้ำ 10 ลิตร หมัก 7 วันขึ้นไป กรองผ้าใช้ผสมน้ำ 1:500 ฉีดพ่นทางใบ วันเว้นวัน ในช่วงเวลาเย็น




ใบงานที่ 11 เรื่อง การทำปุ๋ยหมักห่อหมกดินไม่กลับกองปุ๋ย
เวลา 30 นาที

จุดประสงค์
เพื่อทำปุ๋ยดินหมักจุลินทรีย์อินทรีย์วัตถุอย่างง่ายได้

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. ท่อ pvc เจาะรูระบายอากาศ
2. จอบถาก
3. คราด
4. ไม้กวาดใบไม้ทางมะพร้าว
5. บุ้งกี๋หรือบุ้งเต้า
6. น้ำหมักขยะเปียก
7. ผ้าพลาสติกสีดำ ขนาดประมาณ 2×2 เมตรหรือพอคลุมกองปุ๋ยได้

ขั้นตอนวิธีทำ
1. เข้าไปในป่า หรือบริเณที่มีอินทรีย์วัตถุ
2. กวาดใบไม้รวมกอง หรือใช้จอบถากหญ้าและหน้าดินลึกไม่เกิน 1"
3. ฝังปักหลักท่อระบายอากาศ ขึ้นกองปุ๋ยสลับกันไประหว่างอินทรีย์วัตถุ 70-80% ดินร่วน 20-30%
4. ระหว่างขึ้นกองปุ๋ยให้ขึ้นใช้เท้าเหยียบอัดให้แน่น และราดน้ำหมักขยะเปียกที่ผ่านการหมักแช่แล้ว 3 วันเป็นอย่างน้อย
5. จบด้วยการปิดด้วยดินร่วนให้หนาประมาณ 1" ราดทับด้วยน้ำแช่ขยะเปียก
6. ปิดคลุมกองปุ๋ยด้วยผ้าพลาสติกสีดำ หมักทิ้งไว้อินทรีย์วัตถุสด นาน 20 วัน ถ้าแห้ง 1 เดือนขึ้นไป
7. นำไปวางทับรอบๆ ทรงพุ่มต้นไม้

ใบงานที่ 12 เรื่อง การทำสมุนไพรไล่แมลง
เวลา 50 นาที

จุดประสงค์
เพื่อสกัดหมักเอาสาร จากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เผ็ด ร้อน ขม เหม็น นำไปฉีดพ่นป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช

สูตรที่ 1 สกัดด้วยน้ำส้มสายชู 100%
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำส้มสายชู 100% จำนวน 1 ขวดประมาณ 500 ซีซี
2. พริกขี้หนูสด ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด อย่างละ 2 ขีดหรือ 200 กรัม ตำละเอียด หรือใช้พริกเครื่องแกงป่นสำเร็จแทนก็ได้ 5 ขีด หรือครึ่ง ก.ก.
วิธีทำ
1. ให้นำสมุนไพรเครื่องแกงตามวัสดุข้อ 1 ลงในถังหมักทึบแสงที่มีฝาปิด
2. เทน้ำส้มสายชูลงไป คนผสมคลุกเคล้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 วัน
การนำไปใช้
1. กรองด้วยผ้าเอาน้ำไปผสม 5 ช้อนแกง ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร
2. ผสมสารจับใบ 1 ช้อนแกง เช่น นมกล่อง น้ำมันพืช
3. ฉีดพ่นช่วงเย็น 17.00 น.เป็นต้นไปทุกวัน สลับกับสูตรอื่น จนกว่าศัตรูพืชจะหมดไป

สูตรที่ 2 สกัดด้วยการต้มน้ำเดือด
วัสดุอุปกรณ์
1. หม้อหรือกะทะต้มน้ำ
2. เตาหุงต้ม
3. ใบขี้เหล็ก ใบสะเดา เครือบอระเพ็ด ใบสาบเสือหรือดงร่าง อย่างละ ครึ่ง ก.ก.
วิธีทำ
1. นำสมุนไพรใส่ครกตำละเอียด ใส่กระทะตั้งไฟ ใส่น้ำเปล่าพอท่วมมิด ทิ้งให้น้ำเดือด 5 นาที
2. ปิดไฟทิ้งให้เย็น
3. กรองเอาน้ำบรรจุไว้ในภาชนะทึบปิดฝา
การนำไปใช้
1. กรองด้วยผ้าเอาน้ำไปผสม 5 ช้อนแกง ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร
2. ผสมสารจับใบ 1 ช้อนแกง เช่น นมกล่อง น้ำมันพืช
3. ฉีดพ่นช่วงเย็น 17.00 น.เป็นต้นไปทุกวัน สลับกับสูตรอื่น จนกว่าศัตรูพืชจะหมดไป

สูตรที่ 3 สกัดด้วยเหล้าขาว 40 ดีกรี
วัสดุอุปกรณ์
1. เหล้าขาว 40 ดีกรี 1 ขวดใหญ่ (750 ซีซี)
2. ใบยาสูบแห้ง 2 ขีด
วิธีทำ
นำใบยาสูบลงแช่ในเหล้าขาว กดให้จม หาวัสดุหนักทับไว้ แช่นาน 3 วัน
การนำไปใช้
1. กรองด้วยผ้าเอาน้ำไปผสม 5 ช้อนแกง ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร
2. ผสมสารจับใบ 1 ช้อนแกง เช่น นมกล่อง น้ำมันพืช
3. ฉีดพ่นช่วงเย็น 17.00 น.เป็นต้นไปทุกวัน สลับกับสูตรอื่น จนกว่าศัตรูพืชจะหมดไป

ใบงานที่ 13 เรื่อง การทำน้ำแม่ หรือหัวเชื้อฮอร์โมนพืชเร่งการเติบโต
เวลา 50 นาที
จุดประสงค์
เพื่อสกัดสารอาหารฮอร์โมนจากยอดพืช เร่งการเติบโต โดยไม่ใช้กากน้ำตาล ไม่เติมน้ำเป็นสูตรเข้มข้น

เนื้อหาสาระ เป็นหลักการทางชีววิทยา เรื่องการออสโมซิส
"สารละลายที่เจือจางจะเคลื่อนที่ไปสู่สารละลายที่เข้มข้น"
ดังนั้นจึงต้องเติมเกลือทะเล ลงไปในถังหมัก เพื่อดึงดูดเอาสารฮอร์โมนออกมาจากเซลของพืช และในเกลือ
ทะเลมีธาตุอาหารที่พืชต้องการด้วย

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสงมีฝาปิด 100 ลิตร มีวาล์วก๊อก ติดตั้งไส้กรอง
2. ตัดพืชในเวลาเช้าก่อนแสงตะวัน เพราะจะได้ฮอร์โมนมาก เช่น หน่อกล้วย หน่อไม้ ยอดพืชผักสีเขียว นำมาหั่น แล้วตำให้ละเอียด ค่อยๆ ทำไปเติมไปได้เรื่อยๆ ไม่ต้องให้เต็มถัง
3. เกลือทะเล ครึ่ง ก.ก.
4. น้ำหมักจุลินทรีย์ จาวปลวก 2 ลิตร (มีเชื้อราไมคอไรซา เพื่อช่วยระบบรากพืชดูดธาตุอาหาร และย่อยสลายพืชที่หมัก)
5. น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย อย่างละ 1 ลิตร เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์น้ำไผ่ จะทำให้ดินฟู ร่วนซุย ช่วยเติมอ๊อกซินเจนให้ผิวดิน (รายละเอียดการเจาะน้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย ให้ดูรายละเอียดตามใบงานที่ 4)
6. แคลเซียม จากผงขี้เถ้ากระดูกสัตว์ เปลือกหอย เปลือกไข่ ที่เผาไหม้ จำนวน 5 ช้อนแกง เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของเซลพืช ต้านทานโรคแมลงกัดทำลาย

วิธีทำ
1. เทน้ำจาวปลวก น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย ผสมเกลือแกง ขี้เถ้าแคลเซียม ลงไปในถังหมัก ครั้งแรกเพียงครั้งเดียว
2. ใส่ส่วนของพืชที่เตรียมไว้ในวัสดุข้อ 2 ลงไปในถัง ค่อยๆเติมไปได้เรื่อยๆ ท้ายสุดไม่ต้องเต็มถังหมัก พร่องไว้  1 คืบ
3. ปิดฝา เพื่อบ่มหมัก น้ำฮอร์โมนจากเซลพืชจะถูกย่อยสลายออกมา
4. กลับน้ำหมัก โดยไขน้ำจากก๊อก นำไปเททับบนถังหมักทุกๆวัน
5. หมักนาน 3 วัน เริ่มใช้ได้

วิธีใช้
นำหัวเชื้อน้ำหมักฮอร์โมนน้ำแม่ ผสมน้ำเปล่าฉีดพ่น สัดส่วนประมาณ น้ำหมัก 5 ช้อนแกง ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร ผสมสารจับใบ เช่น นมกล่อง น้ำมันพืช 1 ช้อนแกง ฉีดพ่นเวลาเย็น วันเว้นวัน


ใบงานที่ 14 เรื่อง การทำน้ำพ่อ หัวเชื้อฮอร์โมนพืชเร่งดอก ผลให้เติบโต ติดผลดก
เวลา 50 นาที
จุดประสงค์
เพื่อสกัดสารอาหารฮอร์โมนจากผลของพืช เร่งการเติบโต โดยไม่ใช้กากน้ำตาล เป็นการหมักแบบเข้มข้น ไม่เติมน้ำเปล่า

เนื้อหาสาระ เป็นหลักการทางชีววิทยา เรื่องการออสโมซิส
"สารละลายที่เจือจางจะเคลื่อนที่ไปสู่สารละลายที่เข้มข้น"
ดังนั้นจึงต้องเติมเกลือทะเล ลงไปในถังหมัก เพื่อดึงดูดเอาสารฮอร์โมนออกมาจากเซลของผลพืช และในเกลือ
ทะเลมีธาตุอาหารที่พืชต้องการด้วย

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสงมีฝาปิด 100 ลิตร มีวาล์วก๊อก ติดตั้งไส้กรอง
2. ผลกล้วยสุก ฟักทองแก่ มะละกอสุก สัปรด เปลือกผลไม้ต่างๆ หั่นเป็นชิ้น แล้วตำ หรือปั่นให้ละเอียด ค่อยๆเก็บสะสมทำไปได้เรื่อยไป ไม่ต้องให้เต็มถัง
3. เกลือทะเล จำนวน ครึ่ง ก.ก. เป็นธาตุเกลือแร่เสริมให้ผลไม้มีรสชาดหวาน
4. ผงขี้เถ้าขาว จากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จำนวน ครึ่ง ก.ก. ช่วยขยายเซลพืชให้ผลโต เป็นธาตุโปตัสเซียม หรือ K
5. น้ำหมักจุลินทรีย์ จาวปลวก 2 ลิตร (มีเชื้อราไมคอไรซา เพื่อช่วยระบบรากพืชดูดธาตุอาหาร และช่วยย่อยสลายพืชที่หมัก)
6. น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อย จากการเจาะ อย่างละ 1 ลิตร เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์น้ำไผ่ ทำให้ดินฟูร่วนซุย(รายละเอียดการเจาะน้ำไผ่ น้ำอ้อย ให้ดูตามใบงานที่ 4)
7. แคลเซียม จากผงขี้เถ้ากระดูกสัตว์ เปลือกหอย เปลือกไข่ ที่เผาไหม้ จำนวน 5 ช้อนแกง เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของเซลพืช ต้านทานโรคแมลงกัดทำลาย

วิธีทำ
1. ใส่ส่วนของพืชที่เตรียมไว้ในวัสดุข้อ 2 ลงไปในถัง ค่อยๆเติมไปได้เรื่อยๆ ท้ายสุดไม่ต้องเต็มถังหมัก พร่องไว้  1 คืบ
2. ใส่น้ำจาวปลวก ผสมเกลือแกงลงไป ใส่น้ำลำไผ่ น้ำลำอ้อยครั้งแรกเพียงครั้งเดียว
3. ปิดฝา เพื่อบ่มหมัก น้ำฮอร์โมนจากเซลผลไม้
4. กลับน้ำหมัก ไขน้ำจากก๊อก นำไปเททับบนถังหมักทุกๆวัน
5. หมักนาน 3 วัน เริ่มใช้ได้

วิธีใช้
นำหัวเชื้อน้ำหมักฮอร์โมนพ่อ ผสมน้ำเปล่าฉีดพ่น สัดส่วนประมาณ น้ำหมัก 5 ช้อนแกง ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร ให้ผสมสารจับใบเพื่อลดการตึงผิว เช่น นมกล่อง น้ำมันพืช 1 ช้อนแกง ฉีดพ่นเวลาเย็น วันเว้นวัน

หมายเหตุ ข้อแสนอแนะหากท่านต้องการทำฮอร์โมนสั่งตัดเฉพาะ ตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด ให้นำผลของพืชชนิดนั้นเพียงอย่างเดียว เช่น ต้องการเร่งดอก ผล มะเขือเทศ ก็นำเฉพาะผลมะเขือเทศมาหมักทำฮอร์โมนพ่อ เพื่อเร่งดอกผล มะเขือเทศ




ใบงานที่ 15 เรื่อง การทำถังหมักเพื่อกสิกรรมไร้สารพิษ
เวลา 50 นาที
จุดประสงค์
1. เพื่อจัดทำถังหมักขยะเปียก หมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ
2. เพื่อให้สามารถกรองเอากากออก กรองเอาน้ำที่ย่อยสลายแล้วใส่ภาชนะแกลลอนไปใช้งานทำปุ๋ยดินหมักในแปลงกสิกรรม
3. เพื่อไขก๊อกเอาน้ำหมักที่ย่อยสลายแล้ว
นำไปเทราดทับส่วนบนถังหมักได้ เป็นการกระตุ้นการย่อยสลาย กลับขยะในถังหมักทุกๆวัน
4. เพื่อช่วยแยกขยะมาทำปุ๋ย ลดปริมาณขยะให้กับเทศบาล แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลิ่นเหม็น อากาศเป็นพิษ

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. ตัวสว่านเจาะ
2. ดอกสว่าน hole saw 32 mm. ใช้เจาะถังติดตั้งวาล์ว
3. ดอกสว่านขนาด 4 หุนหรือ 1/4" ใช้เจาะท่อ pvc ทำไส้กรอง
4. ก๊อก วาล์ว ประเก็นยาง ข้อต่อ ข้องอ

วิธีทำ
1. เจาะรูถัง(กรณีที่ไม่มีรูสำเร็จ) ใช้ดอก hole saw ตามขนาดที่ต้องการ ขนาดข้อต่อ 1" ใช้ดอกสว่าน 32 mm.
2. ติดตั้งไส้กรองที่เตรียมไว้
3. ประกอบให้เข้าที่ (ตามรูป)ใช้ประเก็นยางกันรั่ว ทำประเก็นยางใช้ท่อแป็บ 2 ขนาด ตัดเป็นวงแหวน(ตามรูป) หรือยาด้วยกาวอีพ๊อกซี่

หมายเหตุ การติดตั้งไส้กรองจะเป็นแบบวางราบ หรืองอฉากตั้ง ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปทรงของถังหมัก
...ถ้าด้านข้างถังหมักเป็นแบบแนวดิ่ง ก็ติดตั้งไส้กรองแบบตรง (แต่ต้องหาวัสดุวางรองไส้กรองที่ก้นถัง)
...ถ้าด้านข้างถังหมักเป็นแบบเอียงออก ปากกว้างก้นถังสอบเข้า ต้องประกอบไส้กรองแบบมีข้องอ




ใบงานที่ 16 เรื่อง การเจาะน้ำบาดาลแบบประหยัด
เวลา 1 สัปดาห์ ใช้แรงงาน 2 คน
จุดประสงค์
1. เพื่อมีแหล่งน้ำบาดาลใช้เพาะปลูก
2. เพื่อพึ่งตนเอง ประหยัด ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ราคาถูก
3. เพื่อมีชุดเครื่องมือเจาะบาดาลแบบประหยัด ราคาทั้งชุดประมาณ 15,000 บาท (ใช้แบตตารีเก่า) ไว้ใช้เองและแก้ปัญหาทรายอุดตันเครื่องปั๊มน้ำซับเมอร์ส ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องจ้าง ประหยัดเงินได้มาก

เนื้อหาสาระที่ควรทราบ
แหล่งน้ำใต้ดิน มีปริมาณมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
อันดับที่ 1 น้ำมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ ประมาณ 96%
อันดับที่ 2 น้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ประมาณ 2.5%
อันดับที่ 3 น้ำผิวดิน เขื่อน แม่น้ำ ลำคลอง สระ หนอง บึง ประมาณ 1.5%

วิธีสำรวจจุดที่มีน้ำใต้ดิน
1. สังเกตตรงที่มีรังปลวกใหญ่
2. สังเกตละอองน้ำเหนือผิวดินตอนเช้าตรู่ เมื่อเข้าไปยืนรู้สึกมีไอน้ำสัมผัสผิวกาย
3. ใช้เครื่องมืออย่างง่าย ลวดทองแดงรูปตัว L ใช้ 2 อันถือขนานกัน ตรงที่มีน้ำใต้ดิน ลวดทองแดงจะหันเข้าหากัน

ข้อดีของชุดเจาะบาดาล แบบใช้ไฟฟ้า DC 24V
1. ใช้ไฟฟ้าโซลาร์เซลได้
2. ช่วยให้การประกอบและถอดท่อเจาะทำได้ง่าย หมุนเกลียวได้ 2 ทาง ทั้งทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกา เพียงแคสลับขั้วแบตตารีเท่านั้น
3. ป้องกันเกลียวข้อต่อขาด ไม่เกิดอาการสะบัดของท่อเจาะ เมื่อหัวเจาะต้องสะดุดกับชั้นหินแข็ง เพราะเมื่อหัวเจาะทำงานหนักเกินกำลัง เฟืองทดจะชะลอความเร็วลงโดยอัตโนมัติ
4. สามารถตั้งสปีดความเร็วรอบได้ 2 ระดับ ถ้าเจาะพบหินแข็งให้ใช้แบตตารี 1 ลูก ความเร็วรอบจะลดลง 1/2 ของการใช้แบตตารี 2 ลูก
5. สามารถเจาะได้ลึก 30-40 เมตร ขนาดปลอกบ่อ 4" ถ้าต้องการเจาะให้ลึก และกว้างมากกว่านี้ต้องใช้ท่อแกนเจาะขนาดใหญ่ขึ้น ต้องลงทุนมากขึ้น เพิ่มขนาดเฟืองทด เพิ่มขนาดมอเตอร์

เครื่องมืออุปกรณ์
1. แบตตารีรถยนต์ 12 V 2 ลูก ถ้าซื้อใหม่ 5,000 บาท ควรใช้ของเก่าไม่ต้องซื้อ
2. มอเตอร์ไฟฟ้า DC 24V 1HP 4,000 บาท ของจีน
3. เฟืองทดรอบ 4,000 บาท ของจีน
4. หัวเจาะนำศูนย์ และส่วนขยาย เชื่อมโลหะทำเอาเอง ด้วยเหล็กคาร์ไบ ความแข็ง 10 เท่าของเหล็ก เจาะผ่านชั้นหินทรายได้ 1,000 บาท (ขนาดส่วนขยายเส้นผ่าศูนย์กลาง 5")
5. ท่อเหล็กแป๊บ ป้ายแถบสีน้ำเงิน อย่างหนา สต๊าฟเกลียวหัวท้าย ยาวท่อนละ 6 เมตร ราคาท่อนละ 800 บาท ให้ตัดท่อนละ 3 เมตร เพื่อง่ายต่อการประกอบ และให้สัมพันธ์กับแท่นสามขายึดโยง
6. ข้อต่อแป๊บ 1" ประมาณอันละ 30 บาท
7. ขาตั้ง 3 ขายึดหัวเจาะ ทิ้งดิ่ง เพื่อดึงท่อ และหัวเจาะขึ้นลง เชื่อมประกอบขาตั้ง สูง 3 เมตร 1,000 บาท
8. รอกแบบล็อค และฟรีได้ 1,000 บาท
9. ลวดสลิง 1/4" 1,000 บาท
10. ปั๊มน้ำเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ 3,000 บาท
11. ข้อต่อสามทางซีลกันรั่ว ติดตั้งลูกปืน ประกอบติดตั้งกับแกนเจาะ เพื่อปั๊มน้ำ อัดน้ำลงไปขณะเจาะให้โคลนดืนตะกอนพุ่งขึ้นมา

ขั้นตอนวิธีเจาะ
1. สำรวจแหล่งที่เจาะ คาดว่าจะมีน้ำ
2. ปรับระดับพื้นดินให้ได้แนวระนาบ จับระดับน้ำ
3. ติดตั้งขาเหล็กยึดหัวเจาะ จับระดับน้ำให้ได้ดิ่ง
4. ติดตั้งประกอบแท่นเจาะกับขาตั้ง ประกอบลวดสลิงยึดโยงไว้
5. ประกอบปั๊มน้ำเข้ากับสามทางแกนเจาะ
6. ขุดหลุมดิน 2 หลุม เป็นที่ตกตะกอนดิน และบ่อรับน้ำล้นเพื่อดูดปั๊มน้ำวนอัดลงไปยังหัวเจาะ
7. ประกอบแบตตารี แล้วเดินเครื่องเจาะ
8. เมื่อเจาะลงไปสุดความยาวแต่ละท่อน ให้ประกอบต่อท่อแกนเจาะ










ใบงานที่ 17 เรื่อง ระบบน้ำรดพืชผักอัตโนมัติจากประปาแบบแบ่งโซน
ใช้เวลา 2 ช.ม.
จุดประสงค์
1. เพื่อจัดทำระบบน้ำรดพืชผักแบบตั้งเวลาอัตโนมัติ
2. เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้มาก แก้ปัญหาน้ำประปาไหลช้า
3. เพื่อลดเวลาแรงงาน อำนวยความสะดวกในการรดพืชผัก วันละ 6 ครั้ง ต่อโซน
4. เพื่อผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพไปกับระบบน้ำ
5. เพื่อเพิ่มพื้นที่รดพืชผักได้มากขึ้น เพราะแบ่งโซน
6. เพื่อประหยัดใช้เครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็ก อุปกรณ์ท่อเล็ก ใช้หัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกิอร์

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องปั๊มน้ำ ขนาดจ่ายน้ำให้เพียงพอตามพื้นที่เพาะปลูก และชนิดของพืช 
2. กล่องคอนโทรลอุปกรณ์นาฬิกา
3. เบรกเกอร์ไฟฟ้าเข้ากล่องแผงวงจรไฟฟ้า
4. นาฬิกาเปิดปิดไฟฟ้าอัตโนมัติ แบบแบ่งโซน 4 โซน
5. ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย
6. รีเลย์ และแม็กเนติกสวิตซ์
7. โซลินอยด์วาล์ว ขนาดตามท่อที่ใช้ เพื่อเปิดปิดน้ำอัตโนมัติตามสัญญาณนาฬิกา จ่ายน้ำไปยังโซนเพาะปลูกทีละโซนตามโปรแกรมนาฬิกา
8. ข้อต่อประปา ยูเนียน
9. กรองเกษตร เพื่อไม่ให้หัวมินิสปริงเกอร์อุดตัน
10. วาล์วเติมปุ๋ยน้ำแบบแวนจูรี

วิธีทำ
1. ติดตั้งวงจรไฟฟ้าลงในกล่องควบคุม (ตามภาพแผนผังการเดินวงจรไฟฟ้า)
2. ประกอบเครื่องปั๊มน้ำ ข้อต่อประปา กรองเกษตรและวาล์วเติมปุ๋ยด้านน้ำเข้าเครื่องปั๊มน้ำ
3. ติดตั้งโซลินอยด์วาล์ว ด้านน้ำออกจากเครื่องปั๊มน้ำ






ใบงานที่ 18 เรื่อง การสร้างสระน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก
เวลา 20 วัน แรงงาน 1 คน(ทำเองคนเดียวได้ ไม่ต้องจ้าง)
จุดประสงค์
1. เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณบ้านให้สวยงาม
2. เพื่อเป็นสระเล่นน้ำ มีน้ำพุ น้ำวน
3. เพื่อเก็บกักน้ำฝนจากหลังคาบ้าน
4. เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำบาดาลจากใต้ดินไว้ใช้เพื่อกสิกรรม

ข้อมูลเพิ่มเติม ควรสร้างเป็นทรงกลม เพราะล้างสระง่าย คงทนแข็งแรง

เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องมือจับระดับน้ำแบบเลเซอร์ ประมาณ 300 บาท
2. คีมตัดเหล็กเส้น ขนาด 2 หุน
3. ลวดมัดเหล็ก
4. คีมมัดลวด
5. เครื่องมือดัดเหล็กเส้น
6. อ่างผสมปูนซิเมนต์
7. ตะแกรงลวด ขนาด 1×1 cm
8. หิน 3/4"
9. ทรายหยาบ ทรายละเอียด
10. ปูนซิเมนต์
11. น้ำยากันซึม
12. หินทราย หินชนวน สำหรับตกแต่งขอบสระ
13. พลั่วตัก
14. เกรียงใบโพธิ์
15. เกรียงปาดปูน
16. ท่อ pvc 1" ใช้ประกอบทำระบบน้ำพุ น้ำวน

วิธีสร้าง
1. สำรวจหาจุดที่เหมาะสมเพื่อสร้างสระ
2. กำหนดความจุของน้ำกี่คิว ปักจุดศูนย์กลางวงกลมของสระ
3. ปรับพื้นที่ จับระดับน้ำ
4. ขุดดินให้ท้องสระเป็นรูปตามที่กำหนด
5. ทำขอบสระผูกเหล็ก 2 หุน มัดตะแกรงลวด ไม่ต้องใช้ไม้แบบ
6. วางท่อ ในขอบสระทำน้ำพุผสมปูนหนืดเทใส่
7. ตัดเหล็กและดัดงอปลาย ผูกเหล็กยึดโยงลงไปเป็นช่วงละ 80 ซม. แล้วผูกเหล็กตามขวาง เป็นตะแกรง 20×20 cm.
8. ผสมปูนปั้นเป็นขั้นบันไดตามแนวเหล็กตามแนวระนาบ
9. ผสมปูนเท ใช้ปูนแดง : ทรายหยาบ : หิน =1:2:3 ปาดปูน
10. ผสมปูนฉาบ ใช้ปูนเขียว : ทรายละเอียด = 1:2 เติมน้ำยากันซึม ฉาบให้เรียบ
11. ตกแต่งหินทราย หินชนวน ที่ขอบสระ









ใบงานที่ 19 เรื่องการทำถังหมักขยะเปียกปริมาณมาก
เวลา 3 ช.ม.
จุดประสงค์
1. เพื่อหมักขยะเปียกปริมาณมาก นำไปทำปุ๋ยชีวภาพ
2. เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากขยะ ดับกลิ่นเหม็น ไม่ให้มีแมลงวัน
3. เพื่อเป็นที่เก็บขยะเปียกจากโรงอาหาร ที่วัด ที่โรงเรียน หรือชุมชน
4. เพื่อลดภาระการเก็บ ขนย้ายขยะเปียกจากพนักงานเทศบาล
5. เพื่อเป็นวิธีการที่ประหยัด ไม่ต้องใช้กากน้ำตาล

เนื้อหาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์(Biochar) นำมาใช้หมักร่วมกับขยะเปียก เป็นวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล (Biomass, วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันสําปะหลัง ฟางข้าว ซัง ข้าวโพด กิ่งไม้ ต้นหญ้าแฝก เป็นต้น) ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือใช้น้อยมาก (ไพโรไรซิส, Pyrolysis)
...ประโยชน์จากถ่านไบโอชาร์ นำไปแช่ลงในถังหมักขยะเปียก ตัวจุลินทรีย์ชีวภาพจะเข้าไปอาศัยอยู่ในรูถ่าน ช่วยให้ดินโปร่ง
...รายละเอียดการทำถ่านไบโอชาร์ ให้ศึกษาตามลิงค์นี้
http://goo.gl/VN0XnX

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังพลาสติกขนาดใหญ่ 1,000 ลิตรขึ้นไป
2. ท่อไส้กรองขยะ
3. เครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็ก 1" ครึ่งแรงม้า
4. อุปกรณ์ท่อน้ำ pvc 1" และข้อต่อ
5. นาฬิกาเปิดปิดอัตโนมัติ เพื่อดูดน้ำขยะกลับขึ้นไปราดขยะใหม่ด้านบน และเพื่อดูดปั๊มน้ำขยะไปขึ้นรถบรรทุก
6. รอก เชือก ถังพลาสติกมีหูหิ้ว ส้อมตักขยะ
7. อ่างพลาสติกคัดแยกขยะ
8. น้ำจุลินทรีย์ชีวภาพจาวปลวกไม่น้อยกว่า 20  ลิตร
9. ถ่านชีวภาพ เผาถ่านแบบเตาอบ ระบบ Pyrolysis

วิธีทำ
1. จัดหาถังพลาสติก ขนาด 1,000 ลิตรขึ้นไป (ใช้ถังเก่าได้) ถังมีรูเกลียวที่ก้นถัง หาที่ตั้งถังหมัก ควรอยู่ใต้ร่มไม้ หรือใต้หลังคา
2. ติดตั้งไส้กรองที่ก้นถัง ให้มีความยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง
3. ติดตั้งรอก เพื่อดึงถังหิ้วขยะขึ้นไปเทลงในถังหมัก
4. ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ ก๊อกน้ำออกแยกสามทาง ติดตั้งวาล์ว เดินสายไฟฟ้า ติดตั้งนาฬิกาแบบดิจิตอล ตั้งเวลาอัตโนมัติ
5. ติดตั้งท่อน้ำ pvc 1" หัวกระจายน้ำ(ใช้ชามเล็กคว่ำ)
ใส่น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 5 ลิตร

วิธีการใช้งานถังหมักขยะเปียก
1. เทน้ำหมักชีวภาพจาวปลวกลงไปประมาณ 20 ลิตร
2. เทน้ำเปล่า น้ำซาวข้าว น้ำมะพร้าว ลงในถัง ประมาณ 200 ลิตร
3. เอาขยะเปีกใส่ลงในอ่างพลาสติกใบใหญ่ ดพื่อคัดแยกขยะเปียก เอาขยะอนินทรีย์ที่ย่อยสลายไม่ได้ออก เช่น ถุงพลาสติก หลอดดูด ยางรัด
4. นำขยะเปียกบรรจุถังหิ้วดึงรอกขึ้นไปเทลงในถังหมัก ขยะเปียกที่จำเป็นเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์จาวปลวก ซึ่งมีเชื้อราไมคอร์ไรซา ควรใส่น้ำซาวข้าว หรือเศษข้าวสุกทุกวัน
5. นำถ่านไม้ชีวภาพ(Biochar) ใส่ลงไป 20% ของขยะเปียก เพื่อให้จุลินทรีย์เข้าไปอยู่ในรูถ่าน
6. ตั้งน้ำฬิกาอัตโนมัติให้ปั๊มน้ำขยะ ไปฉีดพ่นกลับด้านบนวันละ 2 ครั้งๆละ 10 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการย่อยสลายขยะได้เร็วขึ้น
7. หลังจากหมักขยะเปียกนาน 10 วันขึ้นไปก็เริ่มนำน้ำขยะและเนื้อขยะไปใช้ทำดินหมักได้

วิธีนำขยะไปใช้เพื่อทำปุ๋ยดินหมัก ไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยคอก
1. เปิดวาล์วและเครื่องปั๊มน้ำเอาน้ำขยะบรรจุแกลลอน ปิดวาล์วด้านไหลขึ้นบนถังขยะ
2. เมื่อน้ำในถังขยะแห้ง ให้เอาส้อมตักขยะและถ่านบรรจุถุงปุ๋ย เอาไปทำปุ๋ยดินหมัก (ตามใบงานที่ 7-8)
3. น้ำขยะที่ดูดปั๊มออกไปใช้ทำปุ๋ยให้เก็บไว้ 2-3 แกลลอน ประมาณ 50 ลิตร เพื่อเทใส่ถังหมักเข้าไปใหม่ เพื่อให้เชื้อจาวปลวก เชื้อราไมคอร์ไรซา ย่อยสลายต่อไป โดยไม่ต้องไปหาหัวเชื้อจาวปลวกมาเติมอีก












ใบงานที่ 20 เรื่อง การหมักน้ำฮอร์โมนพืชจากปัสสาวะ
เวลา 30 นาที

จุดประสงค์
เพื่อทำปุ๋ยน้ำยูเรีย ฉีดพ่นทางใบให้ธาตุไนโตรเจน เร่งให้พืชผักใบเขียว โตเร็ว

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังพลาสติกทึบแสง มีฝาปิด
2. น้ำปัสสาวะ 4 ลิตร หรือ 4 ส่วน
3. กากน้ำตาล 1 ลิตร หรือ 1 ส่วน

วิธีทำ
1. เทน้ำปัสสาวะ 4 ส่วน ลงในถังหมัก
2. เทกากน้ำตาล 1 ส่วน ลงในถังหมัก
3. ใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน แล้วปิดฝา
4. หมักนาน 15 วัน

วิธีใช้
1. ผสมน้ำหมักปัสสาวะเข้มข้น 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 20 ส่วน
2. ใส่สารจับใบลงผสม 5 ช้อนแกง เช่น น้ำมันพืช น้ำยาล้างจาน นมกล่อง
3. นำสัดส่วนที่ผสมแล้วใส่ถังฉีดพ่นในเวลาเย็น ฉีดพ่นไปที่ใบพืช ทั้งใต้ใบและบนใบพืช เพื่อให้พืชดูดสารอาหารทางปากใบ




ใบงานที่ 21 เรื่อง น้ำนมหมัก เร่งติดดอกผล
เวลาเรียน 30 นาที(แต่ต้องเตรียมวัสดุล่วงหน้า และรอผลการหมัก ทั้งสิ้นประมาณ 100 วัน)
จุดประสงค์
1. เพื่อนำสิ่งที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน มาทำฮอร์โมนเร่งพืชผักให้ติดดอก
2. ลดรายจ่ายไม่ต้องไปซื้อฮอร์โมนเร่งติดดอกจากร้านค้า
3. ฝึกนิสัยขยัน พึ่งพาตนเอง แบบเศรษฐกิจพอเพียง

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสง มีฝาปิด
2. น้ำซาวข้าว หรือน้ำล้างข้าวสารก่อนหุงข้าว เก็บไว้ 15 ช.ม. จำนวน 1 ส่วน
3. นมกล่อง หรือนมสด หรือนมผง จำนวน 10 ส่วน
4. รำข้าวแบบละเอียด 1 ก.ก.
5. น้ำตาลทรายแดง 1/2 ก.ก.
6. กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 แผ่น
7. สายยางกาลักน้ำ หรือกระบอก สลิ้งดูดน้ำ

วิธีทำ
1. นำน้ำซาวข้าวที่เก็บไว้แล้ว 15 ช.ม. ใส่ถังหมัก แล้วโรยหน้าด้วยรำข้าว (ไม่ต้องใช้ไม้พายคน) ให้หนาประมาณ 2 ข้อมือ เพื่อล่อให้จุลินทรีย์ในอากาศมาลงที่รำข้าวที่โรยไว้
2. ปิดถังหมักน้ำซาวข้าวด้วยหนังสือพิมพ์ หมักทิ้งไว้นาน 7 วัน
3. ผ่าน 7 วันแล้ว ดูดเอาน้ำซาวข้าวใสๆ ที่อยู่ตรงกลางถังหมัก ด้วยสลิ้ง หรือกาลักน้ำด้วยสายยาง
4. นำน้ำซาวข้าวที่ดูดน้ำใสมาแล้ว 1 ส่วน ผสมนม 10 ส่วน เติมน้ำตาลกรวดแดงครึ่ง ก.ก. หมักปิดฝานาน 3 เดือน

การนำไปใช้
เมื่อหมักนาน 3 เดือนแล้ว ให้นำน้ำฮอร์โมนน้ำนม ดูดเอาน้ำใสตรงกลาง 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 20 ส่วน หรือประมาณน้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำนมหมัก 5 ช้อนแกง ฉีดพ่นทรงพุ่มพืชที่โตใกล้ออกดอก เช่น แตงกวา พริก มะเขือเปราะ มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ ฟักทอง ให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ทุกๆวัน จะติดดอกผลดกดีมาก



ใบงานที่ 22 เรื่อง น้ำหมักกรดอะมิโน โปรตีนจากสัตว์หรือถั่วเหลือง
เวลาเรียน 30 นาที (เวลาทำการหมัก 105 วัน)

จุดประสงค์
1. เพื่อทำการหมักโปรตีน จากเศษซากสัตว์ หรือถั่วเหลือง จากครัวเรือนหรือตลาดสด นำมาทำเป็นฮอร์โมนฉีดพ่นพืช เร่งการเจริญเติบโต
2. เพื่อลดต้นทุนรายจ่ายซื้อฮอร์โมนจากร้านค้า
3. เพื่อฝึกนิสัยให้เป็นคนขยัน ประหยัด พึ่งตนเองแบบพอเพียง

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสง มีฝาปิด
2. โปรตีนจากซากสัตว์ เช่น ปลา เครื่องในสัตว์ ก้างปลา กระดูกสัตว์ เปลือกไข่ หรือกากถั่วเหลือง 3 ส่วน
3. กากน้ำตาล 1 ส่วน
4. เกลือทะเล 2 ขีด
5. รำข้าวละเอียด ครึ่ง ก.ก.

วิธีทำ
1. นำเศษชิ้นส่วนโปรตีน จากสัตว์หรือถั่วเหลือง ใส่ลงในถังหมัก 3 ส่วนหรือ 3 ก.ก.
2. เทกากน้ำตาลทับลงไป 1 ส่วนหรือ 1 ก.ก. ใส่เกลือ 2 ขีด
3. ใช้ไม้พายคนคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. ให้โรยรำข้าวปิดหน้าป้องกันกลิ่นเหม็น ปิดฝาถัง ทำการหมักแบบเข้มข้นนี้นาน 15 วัน
5. ผ่าน 15 วันแล้ว เติมน้ำเปล่า 10 ส่วน หรือ 10 ลิตร ใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน โรยรำข้าวปิดฝาหมักต่ออีก 3 เดือน

การนำไปใช้
เนื่องจากฮอร์โมนโปรตีนหมัก เป็นสารอาหารพืช เหมาะแก่การเร่งเติบโต หากมีก้างปลา กระดูกสัตว์หมักด้วย จะได้ธาตุเสริมคือ ธาตุแคลเซียม ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี
วิธีใช้ ให้นำน้ำหมักโปรตีน 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 20 ส่วน ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลาเย็น ทุกๆ 3-5 วัน พืชจะงดงามเติบโตอย่างรวดเร็ว


ใบงานที่ 23 เรื่อง ปุ๋ยปราบเซียน จากอุจจาระหรือมูลสัตว์
เวลา 50 นาที
จุดประสงค์
1. เพื่อลดต้นทุนการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
2. เพื่อลดรายจ่ายจ้างรถดูดสิ่งปฏิกูล

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสง มีฝาปิด
2. สิ่งปฏิกูล อุจจาระมูลคนจากถังเกรอะส้วม หรือมูลสัตว์
3. กากน้ำตาล
4. น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM
5. เกลือทะเล
6. รำละเอียด

วิธีทำ
1. ให้ใส่เกลือทะเล 1 ก.ก. ต่อ 1 ท่อเกรอะในบ่อส้วม เพื่อฆ่าเชื้อโรค พยาธิ
2. ใส่น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM สัดส่วน 1 ลิตร ต่อ 1 ท่อเกรอะบ่อส้วม เพื่อดับกลิ่น
3. ตักมูลอุจจาระ ใส่ลงในถังหมัก บรรจุ 3/4 ของถังหมัก
4. เติมกากน้ำตาลที่คนผสมน้ำ 1:1 แล้ว เทใส่ถังหมักเกือบเต็ม พร่องไว้ 1 คืบ
5. โรยรำละเอียดปิดหน้า เพื่อดับกลิ่น แล้วปิดฝาถังหมัก ไม่ต้องแน่น(ถ้าแน่นมากเกิดแก๊สระเบิดได้) หมักนาน 15 วันขึ้นไป นำไปใช้ได้

วิธีนำไปใช้
1. มูลหมักกรองเอาน้ำ 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 20 ส่วน ใส่บัวรด หรือฉีดพ่นพืชผัก
2. กากมูล นำไปทำปุ๋ยดินหมักกับอินทรีย์วัตถุ



ใบงานที่ 24 เรื่อง ปุ๋ยขี้ผง
เวลา 50 นาที
จุดประสงค์
1. เพื่อนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในบ้านทุกๆบ้าน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
2. เพื่อลดต้นทุนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

วัสดุอุปกรณ์
1. ถังหมักทึบแสง มีฝาปิด
2. มูลอุจจาระคน หรือมูลสัตว์
3. เกลือทะเล
4. รำละเอียด
5. กากน้ำตาล
6. น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM
7. ทรายหยาบ
8. ถุงปุ๋ย

วิธีทำ (คล้ายกับปุ๋ยปราบเซียน ใบงานที่ 23)
1. ให้ใส่เกลือทะเล 1 ก.ก. ต่อ 1 ท่อเกรอะในบ่อส้วม เพื่อฆ่าเชื้อโรค พยาธิ
2. ใส่น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM  1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า 1 ลิตร ต่อ 1 ท่อเกรอะบ่อส้วม เทลงในถังส้วม เพื่อดับกลิ่น
3. ถ้าเป็นมูลสัตว์ ในนำลงถังหมัก ใส่เกลือทะเล และ EM ตามสัดส่วนในข้อ 1-2
4. โรยหน้าด้วยรำละเอียดหนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้วฟุต
5. ปิดฝาถังหมักไม่น้อยกว่า 15 วัน
6. นำทรายหยาบ หรือทรายตามร่องน้ำ เป็นทรายแห้งมากองข้างๆ ถังหมัก หรือใบบริเวณกลางแจ้งที่รับแสงแดดทั้งวัน ขนาดกองทรายไม่น้อยกว่า 2 เท่าของถังมูลคน หรือมูลสัตว์ที่หมัก
7. ขึ้นกองทรายเป็นรูปกรวยค่ำ ใช้จอบทำเป็นหลุมบนกองทราย
8. ตักมูลคน หรือมูลสัตว์ที่ผ่านการแช่แล้ว เทลงไปในเบ้าหลุมทราย ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วัน ให้ทรายดูดซับน้ำปุ๋ย จนแห้ง
9. เกลี่ยกองทรายที่ซับน้ำปุ๋ยให้กระจายออก ตากแดดให้แห้งสนิท นำไปบรรจุลงในถุงปุ๋ย หรือนำไปโรยปุ๋ยแห้ง รอบๆต้นพืช หรือในแปลงผัก


ใบงานที่ 25 เรื่อง นอนทำปุ๋ย
เวลา 1 คืน

จุดประสงค์
1. เป็นการทำปุ๋ยน้ำอย่างง่ายที่สุด ใช้เวลาช่วงหลับนอน
2. ประหยัดเวลาไม่ต้องใช้เงิน ไม่ใช้กากน้ำตาล

อุปกรณ์
1. น้ำดื่ม น้ำเปล่า  2-3 แก้ว
2. เหยือกน้ำ หรือคอมฟอร์ต เพื่อรองรับน้ำปัสสาวะ
3. น้ำหมักจาวปลวก ทำเองได้ไม่ต้องซื้อ (ใบงานที่ 1,2,9)

วิธีทำ
1. นำน้ำจาวปลวก ใส่ในเหยือกน้ำ หรือคอมฟอร์ต 2-3 แก้ว นำไปวางไว้ข้างที่นอน
2. เข้านอนไม่เกิน 21.00 น. ก่อนนอนดื่มน้ำเปล่าให้มาก 2-3 แก้ว
3. ประมาณเที่ยงคืน ปวดปัสสาวะให้ตื่นขึ้น แล้วขับปัสสาวะลงในเหยือกหรือคอมฟอร์ตที่เตรียมไว้ จะไม่มีกลิ่น เพราะได้ผสมกับน้ำจาวปลวกทันที และเชื้อราไมคอร์ไรซา จากน้ำจาวปลวกจะย่อยสลายน้ำปัสสาวะให้เป็นปุ๋ยยูเรีย
4. อาจตื่นขึ้นขับปัสสาวะบ่อยครั้ง

วิธีใช้
เมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้าให้นำน้ำปัสสาวะที่ผสมกับน้ำจาวปลวกแล้ว ไปผสมน้ำเปล่ารดพืชผักได้ทันที ในสัดส่วน น้ำเปล่า 1 บัวหรือ 10 ลิตร ต่อน้ำปัสสาวะที่ผสมกับน้ำจาวปลวก 1 แก้ว หรือเทใส่ถังปุ๋ยน้ำให้ผสมฉีดพ่นไปกับระบบปั๊มน้ำที่ติดตั้งระบบไว้แล้ว

อธิบายหลักวิชาการ ได้ดังนี้
1. การดื่มน้ำเปล่า ที่สะอาด ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ก่อนนอนทุกคืน ช่วยล้างไตให้สะอาด ตื่นเช้าหน้าตาจะผ่องใส ลดรอยเหี่ยวย่นที่ตีนกา ดวงตาสดใส
2. น้ำปัสสาวะ เป็นปุ๋ยยูเรีย ให้ธาตุไนโตรเจน ฉีดพ่นทางใบพืช พืชจะเขียวสด
3. น้ำจาวปลวก มีเชื้อราไมคอร์ไรซา ช่วยระงับดับกลิ่นสาบปัสสาวะ ช่วยระบบรากฝอยของพืช เป็นเชื้อราที่พึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันและกัน กับรากฝอย คือเมื่อใบพืชสังเคราะห์แสงแดดแล้ว จะได้น้ำตาลส่งกลับไปที่ปลายรากฝอย เชื้อราไมคอร์ไรซาจะกินน้ำตาล แล้วเชื้อราจะปลดปล่อยน้ำกรดอ่อนๆ ออกมาช่วยให้ ดิน หิน แร่ธาตุ ที่อยู่รอบๆปลายรากถูกกัดกร่อนด้วยน้ำกรด ปฏิกิริยาธรรมชาตินี้ จะสลายเอาธาตุอาหารออกมาจากดิน หิน แร่ธาตุ รากฝอยพืชก็จะดูดกินธาตุอาหารนั้น