วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การปรับโครงสร้างดิน(Soil Structure)หรือห่อหมกดิน


ภาพกองปุ๋ยหมัก แบบห่อหมกดินติดแอร์
ภาพปรับโครงสร้างดิน รหัส CSEA 
ประกอบด้วยสิ่งที่หาได้ง่าย ดังนี้

1. C=Carbon 80% คือ ซากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ใบไม้ เศษหญ้า

2. S=Soil 10%   คือ สิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ดินร่วนซุย
3. E=Enzyme 10% คือ สิ่งมีชีวิต ใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ
                   ใช้เป็นฐานของห่วงโซ่อาหาร
4. A=Air Convection เป็นระบบถ่ายเทอากาศในกองปุ๋ยหมัก 


ถ้าสนใจรายละเอียดให้ดูคลิปวิดีโอนี้ครับ




     เป็นทฤษฎี(ทิฏฐิ ในภาษาบาลี) หรือความเห็น ดังนี้ : เป็นสมการด้านความสัมพันธ์กันอย่างพอดี ระหว่างการชะล้างพังทลาย(Erosion)กับการทับถม(Deposit, Greatation) ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาบนผิวโลกนี้ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย คือฝนตกหรือรดน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องทับถมหน้าดินหรือใส่ปุ๋ยตลอดเวลาเช่นกัน สรุปคือพืชจะเจริญงอกงามได้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์อย่างลงตัวพอดี ระหว่างการรดน้ำและใส่ปุ๋ย ส่วนปุ๋ยแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อ คือ การหมักดินหรือปรับโครงสร้างดิน(Soil Structure)


สูตรการหมักดิน หรือปรับโครงสร้างดิน คือ E = D (c80+s10+e10)  ดังนี้ 

1.  c = carbon  คือ ธาตุคาร์บอนจากสิ่งที่มีชีวิตเป็นอินทรีย์วัตถุ(Organic)= ๘๐% ได้จาก ซากพืช ซากสัตว์ฯลฯ
2.  s = soil           คือ สิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็นอนินทรีย์วัตถุ (NonOrganic) = ๑๐% ได้จาก ดินร่วนซุย หิน แร่ธาตุ
3. e = enzyme    คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย(Fertilization)= ๑๐ % ได้จาก เชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ ที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อรา ยีส
    
         ผมขอประกาศว่า "ทฤษฎีนี้ยิ่งใหญ่มาก มันเป็นความอยู่รอดของมวลมนุษยชาิติ เพราะอาหารเป็นหนึ่งในโลก และกระบวนการผลิตอาหารต้องยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ใช้สารเคมี คือผู้ที่ทำลายความมั่นคงเรื่องอาหาร และเป็นเหตุแห่งโรคในมนุษย์ยุคนี้"

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ (ครบรอบวันเกิด ๕๕ ปี)
ลงชื่อ กมล พรหมมาก ผู้ค้นพบทฤษฎี


          หลักการทางฟิสิกส์ หรือกายภาพ หรือกฎธรรมชาติของโลก
          โลกของเราประกอบด้วยของแข็ง ของเหลว และก๊าซหรืออากาศ
          จากองค์ประกอบวัตถุโลก ๓ สถานะนี้ เราควรคำนึงถึงและเชื่อมโยงต่อหลักการกสิกรรมของเราด้วย นั่นคือการจัดทำปุ๋ยแบบธรรมชาติิหรือไร้สารพิษ เราต้องดึงเอาทั้ง ๓ ส่วนนี้มาประกอบกันให้ลงตัวอย่างพอเหมาะพอดีกับพืชด้วย
           องค์ประกอบของพืชที่เป็นธาตุหลักสำคัญคือธาตุไนโตรเจน ประมาณ ๘๐%
           องค์ประกอบของมวลอากาศชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ที่อยู่ติดกับผิวโลก ก็มีธาตุไนโตรเจนประมาณ ๘๐% เช่นกัน     
           ดังนั้นโจทย์ คือ ทำอย่างไรเราจะดึงหรือตรึงไนโตร จากอากาศลงสู่พื้นดินได้
           จากผลการทดลองพบว่า :   
           ๑.ใช้หลักการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ ก็จะสามารถตรึงไนโนเจนลงสู่ผิวดินได้              
           ๒.นำอินทรีย์วัตถุธาตุที่เป็นคาร์บอนมาเป็นตัวตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ก็ได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน ได้แก่ จากผงถ่านไม้ แกลบดำ หรือจากใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า
           อีกหลักการหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ คือ พืชเมื่อสังเคราะห์แสงแล้วจะได้น้ำตาลและแป้ง เป็นอาหารสะสมไว้
           แป้งและน้ำตาลก็คือธาตุคาร์บอนนั่นเอง
           ดังนั้นเราควรมองบรรยากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา ให้เห็นเป็นธาตุไนโตรเจน และมองเห็นหญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ ให้เห็นเป็นธาตุคาร์บอน และให้นำธาตุทั้งสองส่วนนี้มาประกอบกันเป็นปุ๋ยให้กับพืช
          สรุป คือ เรามาช่วยกันเอาอากาศที่มีอยู่โดยธรรมชาติรอบๆตัวเรา นำมาทำปุ๋ยให้พืชกันเถอะ ซึ่งเป็นคำตอบสุดท้าย ที่เข้ากับหลักการเศรษฐกิจแบบพอเพียง
        เอาอากาศมาทำปุ๋ยให้กับพืชผักผลไม้กันเถอะ หลังจากปลูกถั่วต่างๆ ๑๐ วันผ่านไป ถั่วก็ตั้งพุ่มแล้ว อีก ๒๐ วันก็จะเกาะเลื้อยขึ้นไปตามลำไม้ไผ่และออกดอก ในภาพเป็นวิธีการหนึ่งของการนำเอาอากาศมาเป็นปุ๋ยให้กับพืช ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในอากาศมีปุ๋ยสำหรับพืช ด้วยเหตุผลทางธรรมชาติพบว่าในบรรยากาศที่ติดผิวโลกหรือชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ ส่วนประกอบสำคัญคือไนโตรเจนประมาณ๘๐% และพืชก็มีองค์ประกอบธาตุอาหารหลักที่เป็นไนโตรเจนประมาณ ๘๐% เช่นกัน 
       ดังนั้นเราจึงมีวิธีการดึงเอาปุ๋ยจากอากาศมาให้พืช ตามที่ได้ทดลอง คือ 
       ๑. ฉีดน้ำพ่นเป็นละออง จะได้อากาศธาตุ ได้แก่ อ๊อกซิเจนให้กับพืช และยังได้ธาตุไนโตรเจนอีกด้วย 
       ๒. ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์วัตถุจะได้ธาตุคาร์บอน และธาตุคาร์บอนจะดึงธาตุไนโตรเจนในอากาศลงสู่พื้นดินได้ด้วย