วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กสิกรรมไร้สารพิษเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

ประมวลภาพไปเยือนโครงการสร้าง "บัวละเวรีสอร์ท"
เมืองปากซอง สปป.ลาว
เมื่อวันที่ 23-24 ธันวาคม 2556

(สมาชิก 4 ท่านผู้ร่วมเดินทางจากโคราช)

ลำธารน้ำตก ใสบริสุทธิ์ปราศจากพิษของเคมี ไหลกระเซ็นเย็นทั้งปี


ภูมิทัศน์สนามกอล์ฟ ในรีสอร์ท

ที่ตั้งสัมพันธ์ : "บัวละเว รีสอร์ท" เป็นชื่อที่ราบสูง ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ห่างจากเมืองปากซอง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 16 ประมาณ 12 กม.ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเส้นทาง

การเดินทางจากประเทศไทย : ผ่านด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งโครงการห่างจากด่านช่องเม็กชายแดนไทยประมาณ 120 กม. เดินทางข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองปากเซ ไปทางทิศตะวันออก
แผนที่ : แสดงเส้นทางถนนจากด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี
ถึงเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว



ที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์ GPS : N 15.259217   E 106.294996

พื้นที่ : ประมาณ 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่สัมปทานจากรัฐบาล สปป.ลาว


ผู้สัมปทาน : ชาวไต้หวัน ชื่อ อาเหลียง อายุประมาณ 50 ปี

สภาพทางภูมิศาสตร์ : ตั้งอยู่บนที่ราบสูงบัวละเว ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,500 เมตร

ลักษณะดิน : เป็นดินที่เกิดจาก หินภูเขาไฟ เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุเหล็ก เหมาะแก่การกสิกรรม ดินระบายน้ำได้ดี ค่า pH ของดินประมาณ 4-5

แหล่งน้ำ : มีลำธารใสสะอาด มีน้ำตกในพื้นที่โครงการ 5 แห่ง ต้นกำเนิดไหลมาจากเทือกเขาอันนัม มียอดภูเขาสูงทางตะวันออก ยอดเขาสูงที่อยู่ใกล้กับรีสอร์ท ชื่อ Phou Phiamay  สูง 1,716 เมตร ไหลอ้อมพื้นที่โครงการ ไปทางตะวันตก วกอ้อมไปทางเหนือ น้ำไหลตลอดปี มีปริมาณมากพอต่อโครงการปลูกพืชผัก และใช้ในรีสอร์ท สร้างฝายทดน้ำในระดับพื้นที่สูง เพื่อให้ไหลเข้าสู่ภายในโครงการ สร้างเป็นอ่างน้ำ เลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาคาร์ฟ แล้วให้น้ำไหลล้นอ่างไปทางปลายลำธารน้ำด้านล่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงาน ให้ไหลไปตามระดับความลาดเอียงของพื้นที่

สภาพภูมิอากาศ : อยู่ในเขตมรสุม มีสภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูหนาวเดือนธันวาคม มกราคม อุณหภูมิ ประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตกมากเดือน พ.ค-มิ.ย. และ ส.ค.-พ.ย.

สภาพพืชพรรณธรรมขาติ : เป็นป่าสนไม่ผลัดใบ ป่าเบญจพรรณสลับทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ หญ้าคา มีดอกไม้บัวตองขึ้นปลายฤดูฝน

การพัฒนาพื้นที่ : เริ่มโครงการเมื่อประมาณ พ.ศ.2554
เป้าหมายโครงการ : มีดังนี้
1. สนามกอล์ฟ
2. ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
3. ไร่กาแฟ ผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปจากกาแฟ
4. แปลงพืชผักไร้สารพิษ ผักเมืองหนาว
5. การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และธรรมชาติ เดินป่า ชมน้ำตก
6. แหล่งปฏิบัติธรรม

ผลการดำเนินงาน
1. ไร่กาแฟ อายุ 3 ปี เก็บผลผลิตแล้ว
2. งานปรับสภาพพื้นที่ ถนนภายใน ลานจอดรถ อ่างเก็บน้ำ สนามกอล์ฟ ผลงานได้ 80 %
3. อาคารสิ่งก่อสร้าง อาคารศูนย์กลางอำนวยการ อาคารบริการอาหาร ผลงานได้ 40 %
4. ระบบไฟฟ้า 220 โวล์ท พร้อมหม้อแปลง ปักเสาแรงสูง 3 เฟส แล้วเสร็จ 100 %
5. ถนนเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 16 ระยะทางประมาณ 2 กม. เป็นถนนลูกรัง แล้วเสร็จ 50 %

แผนงานแปลงผักกสิกรรมไร้สารพิษ
ควบคุมการผลิตโดยทีมงาน โครงการกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
เฟสที่ 1 พื้นที่ 16 เฮกตา หรือ 100 ไร่ กำหนดปลูกไม่เกิน 15 ม.ค.2557 เป็นพืชผักเมืองหนาว 5 ชนิด
 จุดสังเกตบ้านหลังนี้ ตรงทางแยกซ้ายมือ
จากเส้นทางหมายเลข 16 ลงถนนลูกรัง
เพื่อเข้าสู่รีสอร์ทอีกประมาณ 2 กม.

น้ำตกใส เย็น ต้นน้ำจากที่ราบสูง เทือกเขาอันนัม
เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตสัมปทานสร้างรีสอร์ท
มีจำนวนน้ำตก 5 แห่ง ล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า


ทีมร่วมทุนยืนสนทนาวางแผนงาน บริเวณที่พักชั่วคราวหน้าสำนักงานกลาง

สนามหน้าอาคารสำนักงานกลางรีสอร์ท

ออกแบบวางแผนแปลงผัก ที่พักเกษตรกร

ภูมิทัศน์บริเวณบ้านพักรับรองที่เมืองปากซอง
บ้านส่วนตัวของอาหลียง นักลงทุนชาวไต้หวัน

ตื่นเช้าดื่มกาแฟ เดินชมบริเวณบ้านพักรับรอง
ที่เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก

หลังจากชมพื้นที่แล้ว มานั่งวางแผนงาน
ที่บ้านพัก เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก
อยู่ห่างจากที่ตั้งโครงการ 12 กม.

อาเหลียง นักลงทุนชาวไต้หวัน
ผู้ขอสัมปทานพื้นที่ ประมาณ 5,000 ไร่ หรือ 800 เฮกตา
เพื่อพัฒนาเป็นรีสอร์ท จากรัฐบาล สปป.ลาว
(100×100 เมตร = 1 เฮกตา = 6.25 ไร่)

ไร่กาแฟ อายุ 3 ปี ให้ผลผลิตแล้ว

พื้นที่ดินภูเขาไฟ ไถพรวนพร้อมที่จะยกร่อง วางระบบน้ำ
สภาพดินมีค่า  pH 4-5

หินอัคนี หินภูเขาไฟ ที่มาของแร่ธาตุเหล็ก นิเกิล ทองแดง
ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

วิวบนเส้นทางภายในรีสอร์ท

อาคารครัว บริการอาหาร คาราโอเกะ

ยืนคุยวางแผนพัฒนาพื้นที่ กับคุณรุ่ง สถาปนิกออกแบบพื้นที่
จบจากเกษตรแม่โจ้ และคุณป้าวิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผักไฮโดรฯ และเป็นแม่ครัว
ด้านหลังเป็นอ่างทดน้ำขึ้นมาเพื่อเลี้ยงปลาคาฟ

บริเวณอ่างรับน้ำตอนในพื้นที่ ที่ผันน้ำมาจากฝายต้นน้ำ

บ้านพักรับรองฝ่ายอำนวยการของรีสอร์ท

เครื่องจักรกลทุ่นแรง

โรงเก็บรถไถ รถฉีดพ่น

รถออฟโรด พาคณะเราขับข้ามลำน้ำชมไร่กาแฟ

อาเหลียงพาดูงานโรงงานแปรรูปอบแห้งพืชผักส่งออก ตั้งอยู่ที่เมืองปากซอง
เป็นนักลงทุนจากจีนอีกราย
ได้ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังลาว เพราะขาดวัตถุดิบ ค่าแรงงานสูง
ผอ.อำนาจ หมายยอดกลาง สนทนากับนักลงทุนจากชาวจีนผู้สร้างโรงงานฯ
โดยมีอาเหลียง นักลงทุนไต้หวัน เป็นล่ามแปล

ภายในโรงงานอบแห้งพืชผักที่กำลังก่อสร้าง
พื้นโรงงานจะปูด้วยแผ่นหินอ่อน หินแกรนิต

กำลังก่อสร้างโรงงานอบแห้งพืชผักส่งขายที่จีน
กำลังการผลิต 60 ตัน/วัน

บ่อน้ำบาดาล โรงงานอบแห้งพืชผัก ลึก 150 เมตร
จากนักลงทุนประเทศจีน
อาเหลียง และแม่บ้าน นักลงทุนชาวไต้หวัน
ขับรถมาส่งคณะของเรากลับโคราช ที่ช่องเม็ก จ.อุบลฯ



วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

การปลูกข้าวเมล็ดละหม้อ กอละเกวียน




ข้าวสามารถปลูกในพื้นที่แห้งได้ ในภาพเป็นข้าวของคุณเจริญ มีดินดำ
494/2 หมู่ 4 ต.หมอนนาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
1.เตรียมดินโดยการไถหมักฟางด้วยจุลินทรีย์ต้นกล้วย 7-10วัน
2.ใส่ปุ๋ย อินทรีย์ หมัก ขี้หมู+ขี้ไก่ +รำข้าว +น้ำหมักผลไม้+จุลินทรีย์ท้องถิ่น+หมักไว้3เดือน
3.ปลูกแบบ SRI
ทดลองปลูก 49 ตารางเมตร ระยะห่าง 50X50 ซม.ได้ข้าว 120 กก. เฉลี่ยได้ข้าวตารางเมตรละ 2.49 กก.
หลักการและเหตุผล
                        
                         ข้าวเป็นอาหารหลักของมนุษย์ วิกฤตข้าวไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย ทำอย่างไรกับโจทย์ที่ท้าทายนี้ เพื่อให้ได้คำตอบใช้พื้นที่และต้นทุนอย่างจำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตสูง จึงเป็นที่มาของโครงการปลูกข้าว เมล็ดละหม้อ กอละเกวียน

เป้าหมาย          
                         ๑. เพื่อใช้พันธุ์ข้าว ๑ เมล็ด ได้ผลผลิต ๑ หม้อ
                         ๒. เพื่อใช้พันธุ์ข้าว ๑ กอ ได้ผลผลิต ๑ เกวียน (๑ ตัน)
แนวคิด             
                         ๑. ใช้ทฤษฎี AWD (Alternate Wetting and Drying)
                                 เปียกสลับแห้ง
                         ๒. ใช้ทฤษฎี SRI (System of Rice Intensitification) 
                                 ปลูกข้าวต้นเดียว
                         ๓. ใช้กฎแก้ว ๓ ประการของดิน ในการเตรียมดิน
ขั้นตอน             
                         ๑. เลือกพื้นที่ปลูกข้าว จะเป็นพื้นที่ไร่ หรือพื้นที่นา
                                ที่สามารถควบคุมน้ำได้
                         ๒. หมักดินทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเมตร(ความกว้าง)
                                หนา ๒๕ ซม. ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ
                                ไตรโคเดอร์มา ตามกฎแก้ว ๓ ประการของดิน
                                (อินทรียวัตถุ ๘๐% + ดินร่วน๒๐% + น้ำหมักชีวภาพ)
                                อัดปุ๋ยหมักในแบบพิมพ์ล้อยางรถยนต์ ไม่ต้องไถ
                                ไม่ต้องคราด ไม่ต้องทำเทือกนาหรือปั่นดิน
                         ๓. วางระบบน้ำมินิสปริงเกอร์ ตั้ง Timer
                                ให้น้ำและปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติ
                         ๔. ปลูกข้าว ๑ เมล็ด ห่างกัน ๑ เมตร 
                                ทั้งระหว่างแถว และระหว่างต้น
                                ๑ ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ๑,๖๐๐ เมล็ด
                         ๕. ปลูกผัก ถั่ว งา เป็นพืชแซมระหว่างข้าวได้
แปลงข้าวนาปรัง ของคุณเจริญ  ระยะปลูก 50x50 ซม.


ทดลองปลูก 49 ตารางเมตร ระยะห่าง 50 x 50 ซม.ได้ข้าว 120 กก. เฉลี่ยได้ข้าวตารางเมตรละ 2.49 กก.

ข้าวแตกกอ 185 รวง ๆละ 300-400 เมล็ด
คิดเป็นเมล็ดข้าว กอละประมาณ 70,000 เมล็ด นำข้าวไปหุงได้ข้าว 1 หม้อ











วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การปลูกข้าวแบบพอเพียง

SRI : System of Rice Intensitification


ชาวนา : กระดูกสันหลังชองชาติไทย


การทำนาแบบประณีต ใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง เขาทำกันอย่างไร

SRI : System of Rice Intensitification คือ การปลูกข้าวต้นเดียว โดยนักวิจัยข้าวชาวฝรั่งเศส อองรี เดอ โลลานี ที่พัฒนาวิธีการ SRI เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๓๘ ที่ประเทศมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา รายละเอียดบทความ ดังนี้

การปลูกข้าวต้นเดียว(SRI)แบบอินทรีย์

เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพเต็มที่ใน การแตกกอและออกรวง

หลังจากกระเด็นกระดอนอยู่บนถนนลูกรังที่ตัดผ่านทุ่งนาผืนกว้างมาได้ครึ่งชั่วโมง รถกระบะสีน้ำเงินของโครงการเสริมประสิทธิภาพเกษตรกร (คสป.) ก็มาจอดอยู่ตรงหน้าบ้านไม้หลังใหม่ของรุ่งโรจน์ ขจัดโรคา ซึ่งกำลังง่วนอยู่กับพิธีขึ้นบ้านใหม่และเตรียมอาหารเลี้ยงญาติมิตรที่มาร่วมงาน

พวกชาวบ้านดูไม่แปลกใจกับการมาเยือนของคนแปลกหน้า บางคนคงเดาออกแล้วด้วยซ้ำว่าเราดั้นด้นมาถึงตำบลทมอของพวกเขาเพื่อตามหา ‘ข้าวอินทรีย์’ ที่ขายดีหนักหนา และเป็นสินค้าส่งออกไปถึงทวีปยุโรป

“ยุโรป” อยู่ห่างจากตำบลทมอกี่หมื่นไมล์ชาวนาอย่างรุ่งโรจน์และพรรคพวกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ไม่รู้ พวกเขารู้แต่เพียงว่า ข้าวหอมมะลิจากนาของตนนั้นจะถูกส่งไปขายชาวยุโรป ซึ่งส่งใบสั่งซื้อมาไม่ขาดสาย ทั้งยังให้ราคาดีกว่าข้าวที่ปลูกแบบใช้สารเคมีอีกด้วย- -คุ้มค่าเหนื่อยที่เฝ้าลงแรงปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปลูกถั่ว ปลูกต้นโสนหลังเกี่ยวข้าวเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน ทั้งยังต้องเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว ปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนวกันชนเพื่อป้องการสารเคมีจากแปลงนาของเพื่อนบ้าน และปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.) มาตลอดหลายปี

ตำนานเกษตรอินทรีย์ของ “กลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติตำบลทมอ” ที่หมู่บ้านโดนเลงใต้ ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อาจไม่เข้มข้นเร้าใจเหมือนเรื่องราวของเกษตรกรที่อื่นๆ ซึ่งผ่านฝันร้ายจากการทำเกษตรแบบใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้ามาอย่างโชกโชน เพราะเริ่มต้นขึ้นง่ายๆ จากการที่มีคนมาขอซื้อข้าวพันธุ์เหลืองอ่อน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากในตำบลทมอ โดยผู้ซื้อระบุไว้ด้วยว่าต้องการซื้อข้าวเหลืองอ่อนปลอดสารเคมี คือใส่ปุ๋ยเคมีได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่ และห้ามใช้ยาปราบศัตรูพืชและวัชพืช

อาจเป็นเพราะเกษตรกรของที่นี่บางส่วนไม่นิยมใช้ยาฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลงมาแต่เดิม การปลูกข้าวปลอดสารเคมีจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องฝืนความรู้สึกและความเคยชินอยู่บ้างเมื่อต้องลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง และหันมาบำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดแทน

จากการปลูกข้าวแบบปลอดสารเคมี พวกเขาก็เริ่มพัฒนามาปลูกข้าวอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ คือเลิกใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาดด้วยการสนับสนุนจากโครงการเสริมประสิทธิภาพเกษตรกรสุรินทร์ (คปส.) ซึ่งทั้งแนะนำเทคนิคขั้นตอนการปลูกข้าวแบบอินทรีย์และจัดการหาตลาดให้

การเพาะปลูกระบบอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มกท. นั้นสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ให้ความหมายไว้ว่า เป็น “ระบบเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และระบบนิเวศเกษตร” นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี สารเคมีสังเคราะห์กำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ วิถีเกษตรอินทรีย์จะลดการพึ่งพาปัจจัยผลิตจากภายนอก ขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในตำบลทมอเพิ่มจำนวนจาก 7 รายในปี พ.ศ. 2539 เป็น 170 รายในปัจจุบัน แต่เหตุที่เราต้องเจาะจงมาพบรุ่งโรจน์ ชาวนาวัย 30 ปีที่หมู่บ้านโดนเลงใต้แห่งนี้ก็เพราะเขาเป็นเกษตรกร 1 ใน 3 รายในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นรายแรกๆ ของประเทศที่ทดลองปลูกข้าวอินทรีย์ด้วย “วิธีใหม่” ซึ่งถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากชาวนาในมาดากัสการ์สู่ชาวนาใน 20 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา กัมพูชา และไทย

“พวกชาวบ้านหาว่าผมบ้า เดินผ่านที่นาก็พากันล้อว่าปลูกแบบนี้จะได้กินหรือ?”

รุ่งโรจน์ เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขาลงมือปลูก “ข้าวต้นเดียว” ท่ามกลางแวดล้อมของเพื่อนบ้านที่มาร่วมยินดี และมีข้าวเปลือกในกระบุงเป็นส่วนหนึ่งของพิธี

ข้าวต้นเดียว มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “ระบบการปลูกข้าวแบบเข้มข้น” หรือ System of Rice Intensification - SRI

รุ่งโรจน์ ได้ยินเรื่องราวของการทำนาแบบ SRI จากการไปอบรมเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตรเมื่อปีปลายปี 2544 เขากลับมาที่หมู่บ้านพร้อมกับตำราหนึ่งเล่มที่บรรยายหลักการของ SRI ไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่อายุของต้นกล้าที่ใช้ การเคลื่อนย้ายต้นกล้ามาปลูก ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละต้น การจัดเรียงรากของต้นข้าวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไปจนกระทั่งถึงการปล่อยน้ำเข้านา และการจัดการกับวัชพืช

เดือนมิถุนายนปี 2546 หลังจากอ่านตำราอย่างละเอียด ปรึกษากับพ่อและเพื่อนจนเริ่มมั่นใจ รุ่งโรจน์ กับพ่อก็ตัดสินใจลงมือปลูกข้าวแบบ SRI ในที่นาประมาณ 2 ไร่

“ผมลองทำเพราะอยากได้ผลผลิตเยอะๆ เหมือนกับชาวนาจากกัมพูชาที่เล่าให้ฟังว่าการปลูกข้าวต้นเดียวทำให้เขาได้ผลผลิตตั้ง 900-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดเราใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแล้วยังได้แค่ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่” ชายหนุ่มพูดด้วยสำเนียงควบกล้ำชัดตามธรรมชาติของคนใช้ภาษาเขมรในชีวิตประจำวัน แล้วตบท้ายว่า “ผมอยากรู้จริงๆ ว่าไอ้ข้าวต้นเดียวนี่มันให้ผลผลิตเยอะจริงอย่างที่เขาพูดหรือไม่”

ปัจจุบันวิธีการของ SRI กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรเอง แต่เหตุที่ยังมีชาวนาลงมือทำกันน้อยอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้าน SRI วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเทคนิคนี้ “ฟังดูดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้”

คู่มือการปลูกข้าว SRI ฉบับภาษาไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยทีมงานส่งเสริมเกษตรสถาบันแมคเคน (เชียงใหม่) เมื่อเดือนตุลาคม 2544 แนะนำการปลูกข้าวแบบนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า

“SRI เริ่มจากหลักปรัชญาที่ว่า ต้นข้าวต้องได้รับความเคารพและจุนเจือประหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพ ซึ่งศักยภาพนี้จะเปล่งออกมาก็ต่อเมื่อเราอำนวยสภาวะที่ดีที่สุดที่เอื้อต่อการเติบโตของพืช หากเราช่วยให้พืชเจริญเติบโตด้วยหนทางใหม่ที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทนความพยายามนั้นกลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ปฏิบัติต่อพืชเยี่ยงเครื่องจักรน้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง วิธีการทำนาที่เกษตรกรทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆ ปีได้ทำให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าวลดลง วิธี SRI นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติเดิมๆ เพื่อนำศักยภาพสำคัญในต้นข้าวออกมาใช้เพิ่มผล"

เพื่อให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพในการออกรวงได้เต็มที่ รุ่งโรจน์เริ่มต้นด้วยการเตรียมดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเช่นเดียวกับการปลูกข้าวอินทรีย์ จากนั้นสูบน้ำเข้านาพอให้ดินเป็นโคลน จากนั้นก็ไถแปรแล้วคราดให้เรียบเสมอกันทั้งแปลง เช้าวันรุ่งขึ้นจึงนำต้นกล้าอายุ 8 วันที่เตรียมเอาไว้มาปักดำทีละต้น โดยปลูกห่างกันที่ระยะ 40X40 เซ็นติเมตร

“ต้นกล้าอายุ 8 วัน เป็นช่วงที่มีพลังมากมายเหมือนกับวัยเด็ก ต้นกล้าที่อายุเยอะจะไม่ค่อยแตกกอ เวลาย้ายต้นกล้ามาลงแปลงต้องแซะอย่างประณีต และต้องให้มีดินติดรากมาด้วย เมื่อแซะมาแล้วต้องปลูกให้หมดภายใน 20 นาที เพราะว่าถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้กล้าจะเหี่ยวเฉาและอารมณ์ไม่ดี ปักดำทีละต้น โดยรากต้องอยู่ลึกไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และจัดเรียงรากให้แผ่ไปตามแนวนอนในทิศทางเดียวกัน” รุ่งโรจน์อธิบายพร้อมสาธิตการจัดเรียงรากของต้นกล้าด้วยมือเปล่าให้ดู “พอปักดำเสร็จมองไม่เห็นต้นข้าวในนาเลย ใครเดินผ่านมาเห็นเขาก็หัวเราะเยาะว่าปลูกอย่างนี้สงสัยจะไม่ได้กิน…”

การปักต้นกล้าทีละต้นนี่เองที่เป็นหัวใจของ SRI แถมยังเป็นที่มาของชื่อ ข้าวต้นเดียว หรือ ‘ปักเดี่ยว’ ที่รุ่งโรจน์และชาวบ้านโดนเลงใต้ตั้งชื่อให้อีกด้วย

อองรี เดอ โลลานี ชาวฝรั่งเศสที่พัฒนาวิธีการ SRI ขึ้นระหว่างที่เขาทำงานร่วมกับชาวนาในมาดากัสการ ์ระหว่างปี 2504-2538 บอกว่า การปักต้นกล้าทีละหลายต้นอย่างที่ชาวนาทั่วโลก ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้จะทำให้ต้นข้าวแย่งอาหาร และแสงแดดกัน ทำให้เติบโตได้ไม่เต็มที่และออกรวงน้อย ดังนั้นแม้ว่าวิธีการปลูกข้าวแบบเดิมนี้ จะช่วยเลี้ยงประชาชนนับพันล้านคนมานานนับศตวรรษ แต่เกษตรกรจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงการปลูกข้าวด้วยวิธีใหม่ที่ต่างออกไป เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มและไม่ทำลายดิน น้ำ อากาศเหมือนกับการใช้สารเคมีเร่งผลผลิต

รุ่งโรจน์ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการปลูกข้าว SRI กับการปลูกข้าวทั่วไปว่า “ปกติเราใช้ต้นกล้าอายุ 30-40 วัน พอถอนกล้ามาแล้วก็ไม่ต้องรีบปลูกให้เสร็จภายในครึ่งชั่วโมง บางทีแช่น้ำไว้จนเกือบเน่าแล้วค่อยปักดำ เวลาย้ายกล้าไม่ต้องระมัดระวังขนาดนี้ ถ้ามีดินติดรากมา เราก็เอาต้นกล้าฟาดกับหน้าแข้งเพื่อให้ดินหลุด ซึ่งการปลูกแบบ SRI ห้ามเด็ดขาด เวลาปลูกก็ปักกล้าลงไปตรงๆ ทีละหลายๆ ต้น ไม่ต้องวัดระยะห่าง ไม่ต้องจัดเรียงรากให้เป็นแนว”

ตามคู่มือการปลูกแบบ SRI คำอธิบายสำหรับขั้นตอนอันละเอียดอ่อนเหล่านี้มีว่า ต้นกล้าอ่อนๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางมาก หากได้รับการสัมผัสเบาๆ การเติบโตจะไม่ชะงักและใบไม่เหลือง การฟาดต้นกล้าเพื่อให้ดินหลุดก็เหมือนกับการฟาดหัวเด็กนั่นเอง การจัดตำแหน่งรากให้อยู่ในแนวนอนจะทำให้ปลายรากชอนไชลงดินได้ง่ายและเป็นการประหยัดพลังงานของข้าวทำให้ข้าวตั้งตัวได้เร็ว, การปลูกกล้าให้เสร็จภายใน 15-30 นาทีหลังจากถอนต้นกล้ามาก็เพื่อช่วยลดความเครียดให้กับต้นข้าว, ส่วนการปักต้นกล้าให้ห่างกัน 40x40 เซ็นติเมตร จะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและทำให้ข้าวแตกกอได้ใหญ่กว่า

ความยากของ SRI ไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนการเตรียมกล้าและปักดำเท่านั้น พ่อศิริชัย ชุ่มมีชัย หนุ่มใหญ่อีกรายหนึ่งในตำบลทมอ ที่สมัครใจทดลองการปลูกข้าวต้นเดียวพร้อมกับรุ่งโรจน์เมื่อปีก่อนบอกว่า การจัดการน้ำและ วัชพืชเป็นเรื่องใหญ่ที่ชาวนาต้องเตรียมรับมือให้ดี

แทนที่จะปล่อยน้ำให้ขังในนาช่วงที่ข้าวกำลังเจริญเติบโตเพื่อป้องกันวัชพืชอย่างที่ชาวนาทำกันอยู่ทุกวันนี้ ระบบการปลูกข้าวต้นเดียวแนะนำให้เกษตรกรปล่อยให้นาแห้งเป็นช่วงๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับออกซิเจนมากขึ้นและได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเพิ่มผลผลิต แต่การปล่อยให้นาแห้งนั้นจะทำให้มีวัชพืชมาก ดังนั้นเกษตรกรจะต้องขยันถอนวัชพืช ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องพร้อมที่จะเสียแรงงานมากขึ้นและใช้เวลาอยู่ในนาข้าวมากขึ้นกว่าเดิม

“การปลูกแบบปักเดี่ยวนี่ ถ้าใส่น้ำเยอะข้าวก็ไม่แตกกอ แต่ถ้าปล่อยให้ดินแห้งหญ้ามันก็ขึ้นรกอีก” พ่อศิริชัย เล่าประสบการณ์ “แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ ที่นาเราอยู่นอกเขตชลประทาน อาศัยแต่ฝนฟ้า มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะควบคุมน้ำเข้า-ออกที่นาได้ตามสูตรที่เขากำหนด”

ลำพังการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ก็นับว่าเป็นเรื่องแปลกเอาการอยู่แล้วสำหรับเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เคยชินกับการหว่านปุ๋ย-พ่นยาในนาข้าว แต่ SRI หรือที่บางคนเรียกว่า “การปลูกข้าวแบบมาลากาซี” ดูเหมือนจะแปลกยิ่งกว่า เพราะการปักดำต้นกล้าทีละต้นและการปล่อยที่นาให้แห้งตามกระบวนการของ SRI นั้นเป็นเรื่องที่ขัดความรู้สึก-ฝืนความเคยชินของชาวนาอย่างรุนแรง

แต่ชาวนานักทดลองอย่าง พ่อศิริชัย และ รุ่งโรจน์ ก็ยินดีจะฝืนและเสียแรงเสียเวลาไปกับการดูแลแปลงนา SRI

“เราจะปักใจเชื่อตามหนังสือหรือที่คนอื่นเล่าไม่ได้ ถ้าไม่ลองทำดูก็ไม่รู้ว่าการปลูกข้าวแบบนี้จะให้ผลผลิตเป็นพันกิโลต่อไร่จริงหรือเปล่า เราอยากรู้ว่าที่ดินตรงนี้จะปลูกข้าวต้นเดียวได้หรือไม่” พ่อศิริชัยบอกเหตุผลที่แกยอมถูกเพื่อนบ้านหัวเราะเยาะ และทะเลาะกับภรรยาซึ่งไม่เห็นด้วยกับการทดลอง

เราไปถึงหมู่บ้านโดนเลงใต้เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2547 ที่นาของ พ่อศิริชัย และ รุ่งโรจน์ ไม่มี “ข้าวต้นเดียว” ให้เห็น เพราะถูกเก็บเกี่ยวไปหมดตั้งแต่เดือนธันวาคม และที่นาก็ถูกแทนที่ด้วยพืชหลังนา เช่น ถั่ว งา ตามวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็นับว่าเป็นจังหวะดี เพราะตลอด 6 เดือนที่ผ่านมานั้น พวกเขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์การปลูกวิธี SRI มาได้ชุดใหญ่ และพร้อมจะบอกเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง ถึงความยากง่ายและปัญหาที่พบเจอระหว่างการทดลองครั้งสำคัญ

และต่อไปนี้คือผลการทดลองของชาวนาทั้งสอง

รุ่งโรจน์ : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 2 ไร่ ปักต้นกล้าประมาณ 500 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นกล้า 1 ต้นแตกกอได้ถึง 40 ต้น ข้าวหนึ่งรวงมีเมล็ดข้าวประมาณ 230 เมล็ด (ข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีจะมี 170-180 เมล็ดต่อหนึ่งรวง)

พ่อศิริชัย : ปลูกข้าวแบบ SRI ในพื้นที่ 1 งาน ปักต้นกล้าไปประมาณ 100 กว่าต้น ได้ผลผลิต 160 กิโลกรัม (4 กระสอบ) ต้นกล้า 1 ต้น แตกกอได้มากที่สุดถึง 44 ต้น (ข้าวอินทรีย์ทั่วไปจะแตกกอได้ 5-10 ต้นเท่านั้น)

ต้นข้าวที่ปลูกแบบ SRI ของทั้งสองคนเจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวทั่วไป คือ ตั้งต้นได้ภายใน 3 วันหลังจากปักดำ นอกจากนี้ยังแตกเป็นกอใหญ่ ออกรวงเยอะ ลำต้นใหญ่ แข็งแรง บางต้นสูงกว่า 2 เมตร รากแผ่ขยายเป็นวงกว้างทำให้สามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นได้มากกว่า

ถึงตอนนี้พวกชาวบ้านเริ่มตื่นเต้นสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในที่นาของรุ่งโรจน์และพ่อศิริชัย หลายคนบอกกับพวกเขาว่า “ไม่น่าเชื่อ“

ชาวนาทั้งสองสรุปว่า วิธี SRI ให้ผลผลิตสูงอย่างเห็นได้ชัดจริง แม้ยังไม่มากถึง 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างที่บันทึกเอาไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินในตำบลทมอไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์และไม่เรียบสม่ำเสมอ การทำนายังต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถจัดการน้ำในนาได้ นอกจากนั้นเกษตรกรไม่มีเวลาดูแลนา-กำจัดวัชพืชได้เต็มที่ เพราะต้องทำนาอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย แต่ผลผลิตระดับ 700 กว่ากิโลกรัมถือว่าน่าจะพอให้ชาวนายิ้มออก และน่าจะถือเป็นความสำเร็จขั้นต้นสำหรับความพยายามที่จะต่อยอดการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ในแง่ของการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย หรือใช้สารเคมีที่เป็นภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

“ถึงอย่างไรผมก็จะลองปลูกอีกรอบ” พ่อศิริชัยประกาศ “ทดลองดูว่าปลูกช่วงเวลาไหน ระยะห่างแค่ไหนถึงจะดีที่สุด เพราะมันไม่มีอะไรเสียหาย อย่างน้อยก็เป็นการคัดพันธุ์ข้าวไปในตัว” นอกเหนือจากชาวบ้านโดนเลงใต้ ขณะนี้ในประเทศไทยมีการทดลองปลูกข้าวแบบ SRI อย่างน้อยอีก 3 แห่ง คือที่ตำบลสำโรง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับ อนุวัฒน์ จันทร์เขต หรือ “หนุ่ม” เจ้าหน้าที่ คปส. ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยรุ่งโรจน์และพ่อศิริชัยเก็บข้อมูลการทำนา SRI ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การปลูกข้าวต้นเดียวแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นี่ เพราะที่นามีความสูงต่ำไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาเรื่องน้ำ และเกษตรกรมีที่นามากทำให้ดูแลกำจัดวัชพืชได้ไม่ทั่วถึง เขาคิดว่าวิธีนี้น่าจะเหมาะกับคนที่มีที่นาเล็กๆ ขนาด 3-5 ไร่เท่านั้น

ถึงกระนั้นหนุ่มก็ยืนยันว่า คปส. จะเดินหน้าส่งเสริมการปลูกข้าวแบบ SRI ต่อไป เพราะการปลูกข้าวต้นเดียวนี้มีประโยชน์มหาศาลต่อการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนา

“การปลูกข้าวทีละต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่าต้นไหนไม่ใช่ข้าวมะลิ 105 หรือเป็นข้าวเมล็ดลีบที่ปะปนมา เพราะดูจากเมล็ดข้าวเราไม่มีทางรู้ ต่อเมื่อข้าวแตกกอขึ้นมาเราถึงจะรู้ว่าเมล็ดข้าวนั้นเป็นพันธุ์อะไร ถ้าเป็นพันธุ์อื่นเราก็ถอนทิ้งไป เก็บแต่ต้นที่เป็นพันธุ์แท้เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ข้าวลงได้มาก” หนุ่มอธิบาย

เขาบอกว่าในอนาคต คปส. จะตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวเพื่อเก็บข้าวหอมมะลิพันธุ์แท้ที่มีคุณภาพดีไว้ให้สมาชิก โดยยินดีจะรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัดมาจากแปลง SRI ของเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าตลาดเล็กน้อย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรทดลองทำนาแนวใหม่นี้กันมากขึ้น

หน้านาปีนี้ นอกจากรุ่งโรจน์กับพ่อศิริชัยแล้ว สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อีกอย่างน้อยสองราย คือ มิตร บุญทวี และภาคภูมิ อินทร์แป้น ประกาศว่าจะหาแปลงนาที่เหมาะๆ เพื่อทดลองปลูกข้าวต้นเดียวดูบ้าง

เรื่องที่ต้องทำงานหนักขึ้น ปรับเปลี่ยนความเชื่อความเคยชินในการทำนา หรือการถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ จากเพื่อนบ้านนั้น พวกเขารับมือได้สบายๆ เพราะเคยผ่านมันมาหมดแล้ว เมื่อครั้งที่ตัดสินใจเปลี่ยนจากการทำนา “เคมี” มาเป็น “อินทรีย์”

บางทีชาวนากลุ่มนี้อาจเป็นผู้ค้นพบวิธีการปลูกข้าว SRI แบบไทยๆ ที่เหมาะสมกับเกษตรกรและนาข้าวในประเทศไทย--ทำให้วิธีการทำนาที่ “ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นจริง” นี้ได้รับการยอมรับแพร่หลายเหมือนอย่างที่ “เกษตรอินทรีย์” เคยทำสำเร็จมาแล้วก็เป็นได้

ที่สำคัญ SRI อาจเป็นหนทางในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่ชาวนามีโอกาสเป็นผู้ทดลอง และเลือกใช้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงของบริษัทข้ามชาติ อย่างการดัดแปรพันธุกรรมที่กำลังจู่โจมประเทศเกษตรกรรมอย่างหนักอยู่ในวันนี้

บทสรุป : การปลูกข้าวต้นเดี่ยว

http://www.gotoknow.org/posts/527238

ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยว (System of Rice Intensification, SRI)

ประวัติความเป็นมา

ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504-2538 โดยนายอองรี เดอ โลลานีกับเกษตรกรในมาดากัสการ์ เรียกว่า “การปลูกข้าวแบบมาลากาซี”  ต่อมาขยายไปประเทศต่าง ๆ เช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทยเป็นต้น ในประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2547 สถาบันแมคเคนเพื่อฟื้นฟูสภาพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาจารย์เคล้าซ์ ปรินซ์ ส่งเสริมให้เกษตรกรที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย  ปัจจุบันได้ขยายไปหลายจังหวัด เช่น น่าน สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร สุพรรณบุรี นครราชสีมา สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์เริ่มปลูกในปีเพาะปลูก 2553
  ข้อมูลของการปลุกข้าวต้นเดี่ยว
1.  ใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูก ประมาณ 1-1.5 กก./ไร่
2.  ใช้กล้าอายุ 8-14 วัน  
3.  ขังน้ำให้สูงเพียง 1-2 นิ้ว และมีการปล่อยให้ดินแห้งบ้างสลับกันไป
4.  ดำห่าง 30-40 ซม. แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5.  ข้าวแต่ละต้นสามารถแตกกอได้ 30-50 ต้นต่อกอ
ประโยชน์ของการปลูกข้าวต้นเดี่ยว
1.  ประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว
2.  ประหยัดน้ำได้ครึ่งหนึ่งจากการทำนาปกติ
3.  ประหยัดพื้นที่ในการตกกล้า
4.  การกำจัดวัชพืชทำได้ง่าย เพราะมีช่องว่างระหว่างกอข้าว
วิธีการปลูก   คือ ปลูกข้าว 1 ต้นต่อ 1 หลุม โดยใช้กล้าอายุ 8 – 12 วัน หรือ กล้ามีใบประมาณ 2 ใบ ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร มีการควบคุมการให้น้ำแบบสลับแห้งและเปียกตั้งแต่กล้าปลูกถึงออกรวง โดยปล่อยน้ำท่วมขังประมาณ 2 เซนติเมตร หลังต้นข้าวออกรวงจนกระทั่ง 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวจึงปล่อยน้ำทิ้งข้าวต้นเดี่ยวจะแตกกอถึง 60 – 65 ตัน หรือเฉลี่ย 50 ต้น สามารถเพิ่มผลผลิตจาก 400 – 500 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 720 กิโลกรัมต่อไร่ 


การปลูกข้าวนั้นย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับเพลี้ยต่างๆ ต้องใช้เชื้อราบิวเวอเรียมายับยั้งหาซื้อได้ที่นี่

http://www.nanagarden.com/A2-137610-4.html

ตัวอย่างของกลุ่มชาวนาคนรุ่นใหม่ คือ ชาวนาวันหยุด

สัมภาษณ์สด : คุณสุภชัย ปิติวุฒิ
http://www.youtube.com/watch?v=LgqOLq294gU
Re-Run สัมภาษณ์สด "ชาวนาวันหยุด-แกล้งข้าว"
ช่อง Farm Channel ช่วง ชุมชนคนเกษตร เวลา 10.00-11.00 น.วันที่ 6 มีนาคม 2556

ปฏิทินกำหนดการทำนาในรอบ ๑ ฤดูกาล

การเตรียมแปลงนา

http://www.youtube.com/watch?v=FdyfPnm5bwY

แหนแดงในนาข้าวช่วยเพิ่มปุ๋ย และคุมหญ้า

http://www.youtube.com/watch?v=oDTIVeh2nP0

การไถนาให้ลึก

http://www.youtube.com/watch?v=14bD2Y30yR0

เครื่องมือตีตารางปลูกข้าว

http://www.youtube.com/watch?v=sNidNU9ThHQ

เครื่องมือโรยแถวข้าวงอก




ท่อแกล้งข้าว

http://www.youtube.com/watch?v=oDTIVeh2nP0

เครื่องพรวนหญ้าในนาข้าว

http://www.youtube.com/watch?v=hV0r0Vkw0Ak
http://www.youtube.com/watch?v=yTrDZ7rTxIU&list=TLVXOhFNyNhzA

เพาะกล้าต้นเดียว


เครื่องมือตีตารางปลูกข้าว

http://www.youtube.com/watch?v=8Jal_L9CWNc

Rice nursery pot for Roller Planting Maker 
-ผ่านครับ น้ำหนักเบา (7กก.)คล่องตัว สร้างรอยจุดตัด ชัดเจน ถอดประกอบง่าย 
-จัดระเบียบการปลูกข้าว จากแปลงนาสู่การพัฒนาประเทศ

จาก ปัญหาที่พบรอบที่แล้วจากคราดปลูก เครือข่ายชาวนาวันหยุด ไม่หยุดนิ่งปรึกษาผ่านระบบSocial Media คุณปัญญา ขันทอง /ครูอาชีวะวันธรรมดา ชาวนาวันหยุด /ลูกศิษย์ออกแบบอุตสาหกรรม ออกมาเป็น Drawing ในกระดาษ ปรึกษา ชาวนาช่างฝีมือ ถอดแบบ ส่งมาให้ชาวนามืออาชีพ นางลือ ทดลองใช้งาน (lead time~20วัน)

ชาวนาวันหยุด: ลงแขกเพาะกล้า

http://www.youtube.com/watch?v=AmQzBEOZoCA&list=TLVXOhFNyNhzA

การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต (วิธีแบบ มทส.)

ข้อมูลโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด, รศ.ดร.หนึ่ง เตียอำรุง, นางสาวยุพยงค์ จันทร์ขำ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การปลูกข้าวในระบบประณีต (System of Rice Intensification; SRI) คือ การจัดการพืช การจัดการดิน และการจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งการผลิตข้าวในระบบของ มทส. เป็นการประยุกต์และปรับปรุงมาจากวิธีการผลิตข้าวในระบบ SRI ของ Dr.Norman Uphoff และคณะ จึงเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งได้แก่ แหนแดง ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยให้พื้นที่ปลูกข้าวมีน้ำขัง ประมาณ 2-5 ซ.ม. เพื่อให้สามารถเลี้ยงแหนแดงได้

แหนแดง (Azolla) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ

ความเหมาะสมของแหนแดงในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว

- แหนแดงสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณได้รวดเร็ว

- สามารถเลี้ยงแหนแดงได้ให้เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีไนโตรเจนต่ำ

- แหนแดงมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง (3-5%)

- แหนแดงสลายตัวได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิตปุ๋ยให้กับข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bioorganic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่เกิดจากกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆกัน และนำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบนี้จะต่างจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆไป เนื่องจากการผลิตปุ๋ยในระบบนี้จะใช้อุณหภูมิในระหว่างกระบวนการหมักสูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคน สัตว์ และพืช ตลอดจนเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้น ได้ทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งได้แก่ Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิตออกซินได้ นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราปฏิปักษ์ ไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และยับยั้งการทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย

ขั้นตอนการผลิตข้าวโดยการใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต

1. การเพาะกล้าสำหรับการผลิตข้าวในระบบ SRI

จากผลการทดลองในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีขั้นตอนและวิธีการในการเพาะกล้าดังต่อไปนี้

1. ใช้กระบะพลาสติกที่มีรูขนาดเล็กบรรจุด้วยขี้เถ้าแกลบที่เปียกชื้นจากการรดน้ำให้อยู่ตัว จากนั้นทำการเกลี่ยหน้าให้เรียบ (สามารถเพาะในแปลงขนาดเล็กได้)

2.โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำ 12 ช.ม. และห่อผ้า 1-2 คืน จนเมล็ดเริ่มมีรากงอก (เช่นเดียวกับการแช่เมล็ดสำหรับตกกล้า) โดยทำการโรยเมล็ดข้าวให้สม่ำเสมอ

3. โรยขี้เถ้าแกลบกลบบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ทำการรดน้ำให้ชุ่ม

4. วางกระบะกล้าไว้ในที่ร่ม เช่นในโรงเรือนเพาะชำ ใต้หลังคา หรือที่มีลมพัดผ่านได้ เมื่ออายุต้นกล้าได้ 5 วัน ให้นำออกตากแดดและเมื่ออายุได้ 8 วัน สามารถนำไปปลูก ในแปลงปลูกได้ ไม่ควรให้อายุกล้าเกิน 15 วัน เพราะรากกล้าจะยาวมากเกินไป การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนกล้าไปปลูกได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถยำไปได้ทั้งกระบะและวางไว้ใกล้ๆ กลับแปลงปลูก ทำให้ไม่เสียเวลาในการถอน และเคลื่อนย้าย แต่ถ้าเพาะในแปลงเพาะกล้าให้หว่านเมล็ดบางๆ

5. พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

2. การถอนกล้า และการขนย้ายต้นกล้า

- ควรทำการย้ายปลูกกล้าที่อายุประมาณ 8-15 วัน และยังคงให้เมล็ดข้าวติดอยู่

- ในกรณีเพาะในถาดสามารถยกถาดไปยังแปลงปลูกได้เลย

- กรณีเพาะกล้าในแปลงควรทำการถอนทีละน้อยย้ายปลูกทันที

- ควรทำการปักดำกล้าที่ถอนให้แล้วเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

- ไม่ควรล้างรากหรือให้รากกล้าแห้งก่อนทำการปักดำ

3. การเตรียมแปลงปลูก และการปลูกข้าวต้นเดี่ยว

1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1 คืน ทำการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามปริมาณที่ต้องการ

2. ใช้รถไถเดินตามตีดินให้เป็นโคลน โดยให้ระดับน้ำลึก 3-5 ซ.ม.

3. ทำการหว่านแหนแดง ประมาณ 1 กก./พื้นที่ 10 ตร.ม. ทิ้งไว้ 7-10 วัน

4. หลังจาก 7-10 วัน ให้ไถกลบแหนแดงลงแปลงปลูกและทำให้ดินมีลักษณะเป็นโคลน

5.นำเครื่องมือ ซึ่งทำจากท่อ PVC ลากขนานไปกับคันนาให้เป็นส้นตรงในแนวเดียวกันให้เต็มพื้นที่แปลงปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

6. นำข้างที่เพาะไว้ในกระบะเพาะ มาปลูกตรงรอยตัดของสี่เหลี่ยม โดยใช้นิ้วกรีดดินในแนวราบลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร

ต้นข้าวจะต้องตั้งฉากกับแนวราก เป็นรูปตัว “L” (L-shape) และหลังจากการทำการปักดำ 1-2 วัน ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกในระดับน้ำลึกประมาณ 2 ซ.ม. และทำการปล่อยแหนแดงให้ทั่วแปลงในอัตรา 10% ของพื้นที่

4. การดูแลรักษาแหนแดง และระดับน้ำในแปลงปลูก

- ทำการหว่านแหนแดงเพิ่มหลังจากการปักดำ 1-2 (หลังการใส่น้ำในแปลงข้าว)

- ควรให้ระดับสูงประมาณ 2 ซ.ม.ในครั้งแรก เพื่อป้องกันวัชพืชและการเพิ่มกระจายตัวของแหนแดงจากนั้นให้รักษาระดับน้ำไว้ประมาณ 5 ซ.ม.

- หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน



สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับแหนแดงและปุยอินทรีย์ชีวภาพ

1. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย

2. สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน

3. สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

4. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์กกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต

5. ประหยัดน้ำ

6. กำจัดวัชพืชและข้าวปนได้ง่าย

7. อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน

8.จำนวนการแตกกอสงกว่าปกติ 2-3 เท่า

9.เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปกติ

10. ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%



ลงแขกดำนาต้นเดียว แบบตีตาราง