วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเผาศพของชาวอโศก

ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก ชีวิตนี้ไม่เที่ยง มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีความชราภาพอยู่ทุกขณะ

ทุกคนต้องลาโลก ละสังขาร ผู้เป็นญาติ บุตรหลาน ของผู้วายชนม์ จึงควรทำกิจครั้งสุดท้ายของท่าน เรียกว่า "ฌาปนกิจศพ"

ภาพที่ประกอบบทความนี้ เป็นการจัดงานศพญาติธรรมชาวอโศก ที่พุทธสถานสีมาอโศก เป็นบรรพชนชาวอโศกซึ่งเข้ามาอยู่ในชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ รวมเวลาที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ๒๖ ปีคือ คุณยายเกิดบุญ ชาญณรงค์ อายุ ๙๗ ปี ๗ เดือน ถึงแก่กรรมเมื่อ เวลา ๐๘.๑๕ น.วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ และทำการฌาปนกิจศพ เมื่อ ๑๓.๐๐ น. วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ เมรุกองฟอนแบบเรียบง่ายในยุคโบราณ ณ พุทธสถานสีมาอโศก อ.เมือง จ.นครราชสีมา ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายใดๆ โดยมีพ่อครูสมณะโพธิรักษ์เป็นประธาน

อาบน้ำแต่งกายให้ศพ ญาติธรรมจะช่วยกันไม่ต้องจ้างสัปเหร่อ
ญาติธรรมช่วยกันนำร่างผู้วายชนม์ไปที่ศาลาเพื่อทำพิธีรดน้ำศพ
รด น้ำศพ ๘ ต.ค.๕๕

สมณะแสดงธรรมหน้าศพ ก่อนฉันภัตตาหาร ๙ ต.ค.๕๕




สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ แสดงธรรมหน้าศพ ๙ ต.ค.๕๕ เวลา ๑๙.๐๐-๒๐.๐๐ น.



 บันทึกภาพเป็นที่ระลึก


พ่อครูสมณะโพธิรักษ์นำขบวนเคลื่อนศพสู่เชิงตะกอนกองฟอน


ญาติธรรม ญาติ บุตรหลาน มาร่วมงานศพประมาณ ๕๐๐ คน


พ่อครูสมณะโพธิรักษ์แสดงธรรมให้มรณะสติแก่ผู้มาร่วมงานประมาณ ๑๐ นาที



 พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ เป็นประธานประชุมเพลิงศพ เวลา ๑๓.๐๐ น. ๑๑ ต.ค.๕๕


ประเพณีการฌาปนกิจศพแบบบุญนิยมของชาวอโศก จะเน้นการประหยัด เรียบง่าย ไม่เล่นการพนัน ไม่มีเหล้า บุหรี่ ไม่ฆ่าสัตว์เพื่อจัดงานศพ ไม่จุดธูปเทียน
เมื่อสมาชิกชาวชุมชนบุญนิยมชาวอโศกเสียชีวิต ก็จะต้องช่วยกันจัดการศพ โดยแบ่งงานหน้าที่กัน ได้แก่ ขั้นตอนต่างๆ ประมาณ ๑๐ ขั้นตอน โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ดังน้
๑. ไปแจ้งตายต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เพื่อรับใบมรณบัตร
๒. อาบน้ำศพ แต่งตัวใส่เสื้อผ้าให้ศพ
๓. จัดหาโลงศพ
๔. เตรียมที่ตั้งศพในศาลา ๓ วัน
๕. รดน้ำศพ
๖. แสดงธรรมหน้าศพก่อนฉันภัตตาหาร ๐๙.๐๐ น. และในเวลา ๑๙.๐๐ น. ไม่มีการสวดพระอภิธรรม ไม่กรวดน้ำ ไม่ถวายข้าวพระพุทธเจ้า ไม่นำอาหารจัดให้ผู้วายชนม์
๗. เตรียมเมรุเผาศพ หรือตั้งกองฟอนด้วยไม้ในที่โล่งแจ้ง
๘. สมณะกล่าวแสดงธรรมหน้าเมรุก่อนประชุมเพลิง ไม่มีการทอดผ้าบังสกุล ไม่มีการโยนทาน
๙. ประชุมเพลิงศพ
๑๐. เก็บอัฐิ อังคาร
การสร้างเมรุเผาศพ

    หลังจากเสร็จสิ้นงานเผาศพคุณยายเกิดบุญ ชาญณรงค์ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาวชุมชนสีมาอโศก มีดำริจะปรับปรุงสร้างเมรุเผาศพแบบเรียบง่าย ยังคงมีสภาพเป็นการเผาแบบเตาเปิด ใช้ฟืน ถ่าน ซึ่งหาได้ง่ายในชุมชนเป็นเชื้อเพลิง
   
     ทางชุมชนมอบให้ผู้เขียนบทความนี้ เป็นผู้ประสานงาน ผมจะสร้างอย่างไรดี เป็นงานที่ผมไม่เคยทำมาก่อนเลย ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้เลย  ขอให้เพื่อนๆช่วยเสนอแนะด้วยครับ ผมต้องการความหลากหลายในความเห็นเรื่องนี้นะครับ ภาพที่โพสมานี้เป็นแนวทางที่ทางสีมาอโศกจะดำเนินการนะครับ เป็นแนวทางที่ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์กันมาบ้างแล้วในที่ประชุมของชาวชุมชน ดังนี้

     ๑. สถานที่ก่อสร้างเมรุใกล้กับื้นที่ส่วนในของวัด ติดกับลานต้นโพธิ์ใหญ่ด้านทิศตะวันตก ไม่ควรมีการก่อสร้างที่เผาศพ แต่ไม่มีที่อื่นใดที่เหมาะสมกว่า มติจึงให้สร้างเมรุแบบถอดประกอบได้ เนื่องจากนานๆ จะมีคนในวัดเสียชีวิต และไม่รับเผาศพที่ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมชาวอโศก เป็นการเผาศพแบบกองฟอนแต่จะปรับปรุงให้ดูดีขึ้น
     
     ๒. บริเวณพื้นที่เผาศพจะจัดเป็นนิทรรศการวิถีชีวิตนักปฏิบัติธรรมก่อนตาย จะมีนักศิลปะกรรมต่างชาติเข้ามาช่วยปั้นภาพนูนต่ำประดับเสารอบๆเมรุ ได้ประสานงานกับร้านอำแดง ที่ด่านเกวียน ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นจิตอาสาจากชาวต่างชาติ จากอเมริกา ยุโรป
     
     ๓. ที่ปลงศพใช้วัสดุสแตนเลสทั้งหมด ถ้าฝนตกก็จะมีหลังคาทรงกลมต่างระดับ ๕ ชั้น ถ้าฝนไม่ตกก็ไม่ต้องใช้ หลังคาถอดประกอบได้ ๖ ชิ้น
     

     ๔. เมื่อไม่มีการเผาศพบริเวณนี้จะใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อน เป็นที่เพาะกล้าข้าวในถาดเพาะเพื่อนำไปโยนในแปลงนา มีลักษณะเป็นลานหิน สลับกับหญ้า เป็นนิทรรศการของนักปฏิบัติธรรมชาวอโศก ในเรื่องวิถีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบชาวพุทธที่เคร่งครัดในศีลธรรม ได้แก่ ภาพปั้นดินเผาการฟังธรรม ภาพปั้นฯการบำเพ็ญบุญ ภาพปั้นฯการตั้งโรงทานแจกอาหาร การทำกสิกรรมไร้สารพิษ และภาพปั้นฯฐานงานต่างๆ ดังภาพที่แสดงนี้








2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ได้ทราบข่าว ยายเกิดบุญเสียชีวิต
แต่ไม่มีโอกาสไปร่วมงาน
ขอให้ "ยายเกิดบุญ" ไปสู่สุคติ นะคะ

ได้ความรู้เรื่องกองฟอกมาเลยค่ะ
ขอบคุณอ.กมลมากนะคะ

Unknown กล่าวว่า...

ได้ทราบข่าว "ยายเกิดบุญ" เสียชีวิต
แต่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมงาน
ขอให้ "ยายเกิดบุญ" สู่สุคตินะคะ

ขอบคุณความรู้เรื่อง "กองฟอน" มากนะคะ