ปลูกผักโชว์ จัดมุมสวนข้างห้องครัว หรือนำไปจัดแสดงนิทรรศการ |
ดูชาวนาเงินล้านจากวีดีโอ คุณชัยพร พรหมพันธุ์ กับภรรยา ทำนา ๒ คน ๑๐๐ กว่าไร่ แบบพึ่งตนเอง ใช้ปัญญาในการทำนา ทำเครื่องทุ่นแรงเอง ทำปุ๋ยใช้เอง
ตอนที่ ๑ http://www.youtube.com/watch?v=B-l0g1lFGkE&feature=share
ตอนที่ ๒ http://www.youtube.com/watch?v=1SMRYQcVfRQ&feature=share
ตอนที่ ๓ http://www.youtube.com/watch?v=6t3SGbghbSs&feature=share
นิยามศัพท์
"ธรรมนูญกสิกรรมไร้สารพิษ" : เป็นหลักการข้อพึงปฏิบัติและห้ามปฏิบัติต่อกสิกรรมไร้สารพิษ
"กสิกรรมไร้สารพิษแบบประณีต" : เป็นการทำกสิกรรมเพื่อยังชีพ(Subsistence Farming) หรือ กสิกรรมแบบเข้มข้น(Intensive Agriculture) ใช้พื้นที่เล็กน้อย ๑-๒ งาน ต่อแรงงาน ๑ คน ปลูกพืชหลากหลายมีพันธุกรรมพืชนานาชนิดที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และลักษณะทางกายภาพของดิน ในแต่ละพื้นที่นั้นๆ
มาตรา ๑ แก้ว ๓ ประการของโลก
๑) ดิน หิน แร่ธาตุ หรือ ของแข็ง
๒) น้ำ หรือ ของเหลว
๓) แดด หรือ สิ่งที่เป็นก๊าซ อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม
นอกจากโลกลูกที่เราอยู่นี้แล้ว ยังไม่พบดาวดวงใดที่มีแก้ว ๓ ประการนี้
มาตรา ๒ แก้ว ๓ ประการของดิน
๑) สิ่งมีชีวิต จุลินทรีย์ สัตว์ในดิน เป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารแรกสุด เป็นผู้สร้างดินให้อุดมสมบูรณ์ ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นปุ๋ยหรืออาหารแก่พืช ถ้าขาดจุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ตายหมด นี้คือความสำคัญ กฎเหล็กของกสิกรรมไร้สารพิษจึงห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด
๒) สิ่งไม่มีชีวิต ดิน หิน แร่ธาตุ
๓) ซากสิ่งมีชีวิต ซากพืช สัตว์ หญ้า ฟาง ใบไม้ กิ่งไม้บดสับ
มาตรา ๓ องค์ประกอบของดินที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช ประกอบด้วย
(๒) มีอินทรีย์วัตถุมาก
(๓) มีสิ่งมีชีวิต ตัวห้ำ ตัวเบียน
(๔) มีความชื้น ๖๐-๗๐ %
(๕) มีอากาศ มีออกซิเจนในดิน
มาตรา ๔ ห้ามกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อ ม.๒ และ ม.๓ แม้เล็กน้อย เช่น ถอนหญ้ารอบๆ ต้นพืชผัก
๑) เมื่อถอนหญ้าจะมีรูดินจากรากหญ้า น้ำจะไหลเข้าไปแทนที่ ดินจะเปียกแฉะตีบตันขาดอากาศในดิน
๒) รากพืชผักจะกระทบกระเทือน เกิดโรครากเน่า พืชผักเหี่ยวเฉา
๓) สัตว์ในดินจะได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่ซ่อนกำบังแดด ขาดตัวช่วยพรวนดิน
๔) เกิดปฏิกิริยาเคมีจากแสงแดดที่โคนต้นพืชผัก ดินร้อนแห้งแข็ง สัตว์ในดินอยู่ลำบาก
มาตรา ๕ ให้นำอินทรีย์วัตถุที่หมักกับดิน ไปทับต้นหญ้ารอบๆต้นผักพืชที่ปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดใน ม.๔
ภาพการหมักดินนำมาวางทับวัชพืชรอบๆต้นพืชผักที่ปลูก แทนการใช้มือถอนหญ้า ถอนวัชพืช หรือใช้ยาฉีดพ่นฆ่าหญ้า |
ผลการทดสอบหมักดินกับอินทรีย์วัตถุทับหญ้าในแปลงผัก เพื่อ ๑.ไม่ต้องถอนหญ้า ๒.เป็นการใส่ปุ๋ยด้วย เรียกว่า ทำ ๑ อย่างได้ประโยชน์ ๒ อย่าง ( Two in One) จากแนวคิดที่ว่า..พืชงอกงามได้เพราะ ดิน น้ำ แดด เราจะไม่ให้หญ้าขึ้นรกในแปลงผักจะทำอย่างไรดี ให้มีผลดีที่สุด วิธีการถอนหญ้าเหนื่อยใช้เวลานานหน้าดินเสียหายสัตว์ในดินอยู่ไม่ได้ เป็นการรบกวนสัตว์ รังแกสัตว์ ไม่มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ผิดศีลข้อ ๑ และการใช้ยาฆ่าหญ้าก็อันตรายลงทุนสูง เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ก็สรุปทางเลือกได้คำตอบว่า...เราต้องทดลองปิดแสงแดดที่หญ้า ได้ทดลองหมักดินกับอินทรีย์วัตถุมาทับหญ้าให้ความหนาพอมิดปิดแสงแดดได้ ประมาณ ๑ นิ้วฟุต ปรากกฏผลการทดลองหลังจาก ๑๐ วัน ก็ได้ผลดังภาพที่นำเสนอคุ้มค่าจริงๆ ให้ลองนำไปใช้ รับรองไม่อดตายแน่ อายุ ๗๐ หรือ ๘๐ ปีขึ้นไปก็ยังสามารถมีแรงทำกสิกรรมแบบประณีตนี้ได้อย่างแน่นอน ผมขอยืนยันนะครับ
มาตรา ๖ ห้ามไถพรวนดิน ห้ามเผาเศษวัสดุ หญ้า ฟางข้าว เพราะขัดกับ ม.๒ และ ม. ๓
มาตรา ๗ ห้ามใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก เพราะขัดกับ ม.๒ และ ม.๓ ควรใช้เครื่องมือกลขนาดเล็ก ได้แก่ มีด จอบ เสียม คราด เคียว เครื่องตัดหญ้า ผ้าพลาสติกสีดำคลุมกองปุ๋ย
มาตรา ๘ ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าหญ้า เพราะขัดกับ ม.๒, ม.๓
มาตรา ๙ ให้ทำปุ๋ยใช้เอง ใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ การหมักดิน การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์วัตถุ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี
ขยะเปียกแช่น้ำหมักชีวภาพเพื่อให้เป็นกรดชีวภาพไปย่อยสลายกองปุ๋ย |
หน่อกล้วยแช่น้ำหมักชีวภาพเพื่อนำไปย่อยปุ๋ยอินทรีย์วัตถุ |
ปอกมะพร้าวหมักทำหัวเชื้อจุลินทรีญชีวภาพ |
นำเปลือกมะพร้าวไปเข้าเครื่องบดสับทำปุ๋ย |
กิ่งไม้บดสับด้วยเครื่องบดสับพืชสด นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์วัตถุ |
เด็ก ๆ นักเรียนสัมมาสิกขาสีมาอโศก ตัดอ้อยไปบดสับทำปุ๋ย |
ส่วนผสมกิ่งไม้สดบดสับ ๑ ส่วน ดินร่วนซุย ๑ ส่วน รำข้าว น้ำชีวภาพ กากน้ำตาล ความชื้น ๖๐% |
มาตรา ๑๐ ให้ใช้วิธีการทางธรรมชาติ ควบคุมศัตรูพืช ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ร้านจำหน่าย หรือ ผลิตเองก็ได้) ทดแทนการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงปราบศัตรูพืช รายละเอียด ตัวห้ำ และตัวเบียนโปรดคลิก เพื่อศึกษารายละเอียดได้ที่นี่.....
แมลงตัวห้ำ เป็นแมลงที่ปกติแล้ว หากินเหยื่อที่เป็นแมลงด้วยกันเป็นอาหาร บางชนิดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย บางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะระยะตัวอ่อน บางชนิดก็เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวเต็มวัย จะออกหากินเหยื่อโดยการกัดกินตัวเหยื่อ หรือ การดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อ มนุษย์ใช้ ประโยชน์จากแมลงตัวห้ำ โดยนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตร เราอาจแบ่งแมลงตัวห้ำโดยอาศัย ลักษณะการออกหากิน หรือ ประเภทของปาก
ภาพตัวห้ำ กำลังรุมทำร้ายแมลงที่โตกว่า |
ภาพตัวห้ำ กำลังรุมทำร้ายแมลงที่โตกว่า |
ภาพตัวห้ำ กำลังรุมทำร้ายแมลงที่โตกว่า |
ลักษณะเด่นของแมลงตัวห้ำ
๑. ส่วนมากมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าเหยื่อที่ใช้เป็นอาหาร
๒. ส่วนมากกินเหยื่อโดยการกัดกินตัวเหยื่อ ทำให้เหยื่อตายทันที
๓. ตัวห้ำจะกินเหยื่อได้หลายตัวตลอดช่วงชีวิตการเจริญเติบโตของมัน
๔. ตัวห้ำจะอาศัยอยู่คนละที่กับแมลงที่เป็นเหยื่อ และออกหาอาหารในที่ต่าง ๆ กัน
แมลงตัวเบียน (Parasitic Insects หรือ Parasitoids)
แมลงตัวเบียน เป็นแมลงที่มีช่วงระยะตัวอ่อน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาศัยและหากินอยู่ภายนอกหรือภายในตัวเหยื่อ เพื่อ การเจริญเติบโตอยู่จนครบวงจรชีวิตของพวกมัน ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด
แตนเบียน |
แมลงเบียนตัวเต็มวัย |
ลักษณะเด่นของแมลงตัวเบียน
๑. อาศัยกินอยู่ภายนอกหรือภายในตัวเหยื่อ ตลอดวงจรชีวิต หรือ อย่างน้อยก็ระยะหนึ่งของวงจรชีวิต
๒. ตัวเบียนมีขนาดเล็กกว่าเหยื่อมาก ส่วนใหญ่เหยื่อหนึ่งตัวจะมีตัวเบียนอาศัยอยู่จำนวนมากมาย
๓. ตัวเบียนจะค่อย ๆ ดูดกินอาหารจากเหยื่ออย่างช้า ๆ และทำให้เหยื่อตายเมื่อตัวเบียนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
๔. ใช้เหยื่อเพียงตัวเดียวตลอดระยะการเจริญเติบโตของตัวเบียน
มาตรา ๑๑ ให้ใช้หลักทฤษฎีสัมพันธภาพกสิกรรมไร้สารพิษ อย่างต่อเนื่อง
เป็นสมการง่ายๆ คือต้องหมั่นใส่ปุ๋ยและรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยการนำปุ๋ยดินหมักกับอินทรีย์วัตถุไปทับรอบๆ พืชที่ปลูกรัศมีทรงพุ่ม แล้วรดน้ำให้ผ่านดินปุ๋ยหมัก ไม่ต้องขุดหลุมใส่ปุ๋ย ให้ทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ถ้ามีหญ้าขึ้นรอบๆพืชที่ปลูกไม่ต้องถอนหญ้าหรือถากหญ้า เพราะรากพืชจะถูกตัดขาดพืชจะเหี่ยวเฉาเป็นโรครากเน่า ให้นำดินที่หมักแล้วทับหญ้าลงไป
|
มาตรา ๑๒ ก่อนปลูกพืชต้องหมักดิน หรือปรับโครงสร้างดิน เพื่อให้ได้ตาม ธรรมนูญมาตรา ๓ และไม่ต้องขุดหลุมปลูกให้ปลูกบนกองปุ๋ยดินที่หมักแล้ว
มาตรา ๑๓ จัดระบบการให้น้ำพืชผัก ผลไม้ อย่างสมำ่เสมอและพอเพียง
บทส่งท้าย สรุปสาระสำคัญ
ความผิดพลาด ๑๐ ประการ จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๑๐๓
๑. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด คิดว่าการใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นสิ่งทีถูกต้อง
๒. มิจฉาสังกัปปะ คิดผิด คิดไปซื้อสารเคมีการเกษตร ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาปราบศัตรูพืช
๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด พูดถามหาร้านขายสารเคมีทางการเกษตร ฯลฯ
๔. มิจฉากัมมันตะ การงานผิดใส่สารเคมีทางการเกษตร ดินเสียหาย สัตว์ตาย
๕. มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิดสัตว์ตายผิดศีลข้อ ๑ ไม่มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
๖. มิจฉาวายามะ พยายามผิดใส่สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกปี หวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น
๗. มิจฉาสติ ระลึกผิด คิดพัฒนาใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ให้ผลคุ้มค่า
๘. มิจฉาสมาธิ ตั้งมั่่นผิด จิตผูกพันกับสารเคมีทางการเกษตร
๙. มิจฉาญาณ มีความรู้ผิดพลาด รู้ว่าสารเคมีทางการเกษตรเป็นทางเลือกที่ถูกต้องที่สุดแล้ว
๑๐.มิจฉาวิมุต ไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ ความยากจน เป็นหนี้สิน เจ็บป่วยจากพิษสารเคมีตกค้างในอาหาร คนล้นโรงพยาบาล เป็นโรคที่ไม่มีเชื้อโรค ได้แก่ มะเร็ง เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ผู้ผลิตได้บาปกรรม ผู้บริโภคอายุสั้นตายเร็วขึ้น และตกนรกก่อนตาย เพราะได้รับความทรมารจากโรคร้าย
ความถูกตรง ๑๐ ประการ จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๑๐๔
๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง เห็นว่าใช้สารเคมีไม่ดี ปลูกพืชแบบอินทรีย์ดีกว่า๒. สัมมาสังกัปปะ คิดถูกต้อง โดยคิดไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรใดๆทั้งสิ้น
๓. สัมมาวาจา พูดปฏิเสธ ไม่เอาสารเคมีทางการเกษตร แต่พูดคุยขยายผลให้มีผู้หันมาใช้เกษตรอินทรีย์ชีวภาพเพิ่มมากขึ้น
๔. สัมมากัมมันตะ ไม่ใส่สารเคมีทางการเกษตร แต่พึ่งตนเองทำปุ๋ยหมักใช้เอง
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพถูกต้องไม่ผิดศีล ไม่เบียดเบียนสัตว์ ฆ่าสัตว์จากสารพิษ
๖. สัมมาวายามะ พยายามทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง พึ่งตนเองให้มากที่สุด ปลูกพืชหมุนเวียน
๗. สัมมาสติ คิดทบทวนพัฒนาทำปุ๋ยใช้เองในรูปแบบต่างๆ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นถูกตรงไม่ลังเลสงสัย ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรใดๆในแปลงกสิกรรมของตนเอง
๙. สัมมาญาณ มีความรู้เชื่อมั่นว่า..สารเคมีทางการเกษตรไม่ดี ใช้วิธีกสิกรรมไร้สารพิษเกษตรอินทรีย์ชีวภาพดีกว่าแน่นอน ๑๐๐%
๑๐.สัมมาวิมุต มีความหลุดพ้นจากอิทธิพลสื่อโฆษณาำต่างๆ ที่ให้ซื้อสารเคมีทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงยาฆ่าหญ้า ไม่เป็นทาสนายทุนอีกต่อไป ไม่เป็นหนี้เงินตรา ไม่เป็นหนี้กรรมหนี้เวรที่ทำอาหารพิษให้คนอื่นกิน มีความผาสุก พ้นจากความยากจน ไม่เป็นโรคภัยจากสารพิษเคมีตกค้างในอาหาร สุขภาพกาย สุขภาพจิตสมบูรณ์แข็งแรง อายุยืนยาวนานเป็นตัวอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมโลกได้นาน ได้บุญกุศลติดตัวไปยังชาติหน้า
เห็นด้วยที่สุดเลย นี่หละปรับญาหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างแท้จริง คิดได้ คิดเป็น ไม่เห็นคุณค่าในสิ่งผิด ไม่โลภอยากได้มากเกินไป ไม่ไขว่คว้าหาความเสื่อม ไม่เลื่อมใสในความเป็นทาส ธรรมะสวัสดี
ตอบลบ